นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 223 มีนาคม - เมษายน 2563
29 ปีที่ 48 ฉบับที่ 223 มีนาคม - เมษายน 2563ี ที่ ั บี่ ี น • เรียกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่่ีมุมทั้งสี่เป็นสีเหลือง ว่า “รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมเหลือง” ตัวอย่างเช่น • เรียกรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทีุ่่มทั้งสี่ มีทั้งที่เป็นสีเขียวและสีเหลือง ว่า “รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมผสม”ตัวอย่างเช่น ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก R ข้างต้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมเขียว เราจะใช้ข้อสังเกตที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งเหล่านี้ในการให้เหตุผลต่อไปนี้ เนื่องจากรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก R เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมเขียว ดังนั้น รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก R จะต้องมีรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเขียว มากกว่า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเหลือง อยู่หนึ่งรูป ดังนั้น ในบรรดารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่อยู่่้างในรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก R จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งรูปที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม มุมฉากมุมเขียว สมมุติให้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมเขียวนั้น ชื่อ S และให้ระยะห่างระหว่างด้านของรูปสี่เหลี่ยม R กับด้านที่ขนานกันและอยู่ใกล้กันของรูปสี่เหลี่ยม S เป็น x, y, u และ v ดังรูป เมื่อพิจารณารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทั้งสามลักษณะข้างต้น มีข้อสังเกตที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งคือ • รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมเขียวทุกรูป จะประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเขียว มากกว่า รูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเหลือง อยู่หนึ่งรูป • รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมเหลืองทุกรูป จะประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเหลือง มากกว่า รูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเขียว อยู่หนึ่งรูป • รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมุมผสมทุกรูป จะประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหนึ่งหน่วยสีเขียว และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หนึ่งหน่วยสีเหลือง เป็นจำ �นวนเท่ากัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1