นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 224 พฤษภาคม - มิถุนายน 2563

50 นิตยสาร สสวท.ิ ต ป ะเท ออสเ เลีีย ป ะเท เกาหลีีใต้้ การพัฒนาสะเต็มศึกษาในประเทศออสเตรเลียเน้นการพัฒนาร่วมกัน โดย Dr.Judy, University of Sydney ได้นำ �เสนองานวิจัยที่เน้นการพัฒนาการทำ �งานร่วมกันของครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา เน้นการพัฒนาวิชาชีพครูให้ ครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ร่วมกันวางแผนหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้้่างๆ การนำ �ไปใช้ในห้องเรียนจริง และ การประเมินในโรงเรียน เพื่อทำ �ให้การพัฒนาสะเต็มศึกษาเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับ บริบทของท้องถิ่น และความต้องการของนักเรียน แล้วโรงเรียนนำ �มากำ �หนดเน้นเป้าหมาย นโยบายของโรงเรียน จากนั้น นำ �มาสู่การเปิดโปรแกรมสำ �หรับให้นักเรียนได้ศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยให้ความช่วยเหลือในการให้คำ �ปรึกษาแนะนำ � (Coaching) มีการให้คำ �ติชมหรือข้อมูลความคิดเห็น (Feedback) เพื่อช่วยพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียน จากความร่วมมือในการพัฒนา ร่วมกันของครูและมหาวิทยาลัย ทำ �ให้เกิดกิจกรรมในโรงเรียนที่่่งเสริมสะเต็มศึกษาในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมชุมชน กิจกรรม STEM Day หรือ STEM Week ทั้งนี้้�ข นกับบริบทของท้องถิ่นและความต้องการของนักเรียน ประเทศเกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่่ีการพัฒนาสะเต็มศึกษามามากกว่า 10 ปี เนื่องจากในอดีตไม่ได้บังคับ ให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ภายหลังพบว่านโยบายดังกล่าวเป็นปัญหา ทำ �ให้ต้องทบทวนนโยบายใหม่ จึงนำ �มาซึ่่� งนโยบายในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ผสมผสาน ด้านศิลปะวัฒนธรรมของชนชาติตนเอง หรือ STEAM (Science Technology Engineering Arts and Mathematics) ประเทศเกาหลีใต้ได้สานต่อนโยบายนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนทำ �ให้ผลสำ �รวจทัศนคติต่อวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของ นักเรียนเกาหลีใต้ดีขึ้น การพัฒนาหลักสูตร STEAM เป็นไปอย่างต่อเนื่องได้นั้น เกิดจากการให้ความสำ �คัญต่อการพัฒนาวิชาชีพครู โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาและอบรมครูตามศักยภาพของแต่ละบุคคล หลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับขั้นต้น ระดับ ขั้นกลาง และระดับขั้นสูง ซึ่่� งมีเนื้อหาการอบรมเริ่มตั้งแต่ความเป็นมาและนโยบายด้าน STEAM Education ไปจนถึงการอบรม จัดทำ �ทำ �แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบ STEAM เพื่อนำ �ไปใช้ในห้องเรียนของตนเอง การจัดการอบรม ดังกล่าวมีการผสมผสานทั้งแบบ F ace-to- F ace และแบบออนไลน์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการพัฒนาสะเต็มศึกษาในประเทศต่างๆ พบว่า แต่ละประเทศมีการพัฒนามา อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการดำ �เนินกิจกรรมในประเด็นที่่ำ �คัญต่อไปนี้ 1) การพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ เช่น การพัฒนาวิชาชีพ เพื่อให้สามารถพัฒนากิจกรรมสะเต็มไปใช้ในห้องเรียน ของตนเองได้ 2) การให้ทุนสนับสนุน และสร้างความร่วมมือเพื่อช่วยยกระดับศักยภาพครูและนักเรียน 3) การให้ความสำ �คัญและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทุกเพศ ในสายงานอาชีพสะเต็มศึกษา นอกจากนี้ จากการถอดบทเรียนการพัฒนาสะเต็มศึกษาของประเทศดังกล่าวข้างต้น พบว่าการพัฒนาเกิดขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบเกินควร ทำ �ให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ และหัวใจสำ �คัญของการพัฒนาสะเต็มศึกษาคือ การพัฒนาวิชาชีพครูที่เกิดจากความร่วมมือกันของครูในวิชาต่างๆ โดยมีเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเน้นผู้เรียน เป็นสำ �คัญ จากการได้เรียนรู้สะเต็มศึกษาในประเทศต่างๆ เมื่อย้อนกลับมามองสะเต็มศึกษาของประเทศไทย ซึ่่� งมีทั้งสิ่งที่ เหมือนและต่างจากประเทศอื่นๆ โดยการพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษาของประเทศไทย ไม่ได้เน้นการพัฒนาสำ �หรับ เพศหญิงโดยเฉพาะเช่นเดียวกับประเทศในแถบละตินอเมริกา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากแผนการศึกษาชาติ ได้ระบุให้การศึกษา ต้องเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศ ฐานะทางสังคม วัฒนธรรม ทำ �ให้ไม่พบการแบ่งแยกการเข้าถึงการศึกษาของเพศหญิง ในประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1