นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 226 กันยายน - ตุลาคม 2563

40 นิตยสาร สสวท.ิ ต การแข่่งขััน โอลิิมปิิกวิิชาการ แบบออนไลน์์ Style New Normal นับเป็นเวลากว่า 30 ปีที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำำ �เนินการคั เลือกและจัดส่่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ และผู้แทนประเทศไทยทำ �ผลงานการแข่งขันระดัับนานาชาติได้้อย่างดีีเยี่ยม ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่าสายพันธุ์ 2019 (COVID-19) ทำ �ให้การคัดเลือกผู้แทนประเทศไทย ตลอดจนการแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ เจ้าภาพจัดการแข่งขันบางสาขาวิชามีการแจ้งยกเลิกการแข่งขัน บางสาขาวิชา ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขัน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การควบคุมโรคและความปลอดภัยในยุค Social Distancing นี้ โดยการแข่งขันคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขันผ่าน ระบบออนไลน์ การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศประกาศยกเลิกการแข่งขัน และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น IBO Challenge 2020 ขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อทดแทนการแข่งขันเดิม ส่วนการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศประกาศยกเลิก การแข่งขัน แต่ประเทศไทยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปยุโรป และประเทศเจ้าภาพ (โรมาเนีย) ให้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่่� งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันเวทีนี้เป็นครั้งแรก เพื่อให้นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทย ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพทางวิชาการที่่ึกฝนไว้แล้ว อย่างเต็มที่ สสวท. จึงได้ดำ �เนินการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันตามรายการ ดังนี้ • 61 st International Mathematical Olympiad 2020 (Virtual) • 32 nd International Olympiad in Informatics 2020 (Online) • 52 nd International Chemistry Olympiad (Remote Access Exam) • International Biology Olympiad Challenge 2020 (IBO Challenge 2020) • 4 th European Physics Olympiad สำ �หรับการดำ �เนินการแข่งขันในปีนี้ (ที่เป็นรูปแบบออนไลน์ทุกสาขาวิชา) เจ้าภาพจะจัดส่งกติกาและแนวทางการควบคุม การสอบแข่งขันให้แก่ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้ทำ �หน้าที่เสมือนกับเป็นเจ้าภาพจัดการสอบให้กับผู้แทนของประเทศ ตนเอง แม้ว่าจะไม่ได้เดินทางไปสอบ ณ ที่เดียวกัน แต่ละสาขาวิชาก็พยายามคงไว้ซึ่่� งกระบวนการต่างๆ ที่เคยทำ �ในการแข่งขัน ปกติ รวมถึงควบคุมความสุจริตและความโปร่งใสในการสอบแข่งขัน โดยทุกสาขาวิชาจะกำ �หนดให้ผู้แทนฯ และอาจารย์แยกกัน อยู่คนละสถานที่และเก็บอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อสอบรั่วไหลไปถึงตัวผู้แทนฯ ก่อนเวลาสอบ ซึ่่� งในขั้นแรก คณะกรรมการจัดการแข่งขันและประเทศเจ้าภาพในแต่ละสาขาวิชา จะส่งข้อสอบมายังอาจารย์ผู้ควบคุมทีมเพื่อทำ �การ วิพากษ์ข้อสอบและให้ความเห็น เมื่อทุกประเทศไม่มีข้อโต้แย้งในตัวข้อสอบก็จะเริ่มแปลข้อสอบผ่านระบบออนไลน์ หลังจาก แปลเสร็จแล้วคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะพิจารณาและยืนยันว่า การแปลข้อสอบไม่มีการเอื้อประโยชน์ในการตอบให้กับ ผู้แทนของประเทศตนเอง และสามารถจัดสอบตามเวลาที่่ำ �หนดได้ เจริญศักดิ� เมืองแก้ว • นักวิชาการ ฝ่ายโอลิมปิกวิชาการและอัจฉริยภาพ สสวท. • e-mail: cmuea@ipst.ac.th วรเชษฐ์ พรมรักษ์ • นักวิชาการ ฝ่ายโอลิมปิกวิชาการและอัจฉริยภาพ สสวท. • e-mail: wprom@ipst.ac.th นานาสาระ และข่่าวสาร

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1