นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 227 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563
36 นิตยสาร สสวท.ิ ต บรรณานุกรม Mashhadi, V. Z. and Kargozari, M. R. (2011). Influences of digital classrooms on educationI . ScienceDirect: Procedia Computer Science 3. Ozerbas, M. A. & Erdogan, B. H. (2016). The Effect of the Digital Classroom on Academic Success and Online Technologies Self-Efficacy. Educational Technology & Society. 19 (4), 203 – 212. Yazid, A. and Bakar A. (2016). “Digital Classroom”: An Innovative Teaching and Learning Technique for Gifted Learners Using ICT . Scientific Research Publishing: Creative Education. ภา 7 ผลงานการออกแบบกระถางต้นไม้พืชอวบนำ� �สามมิติของผู้เรียน ข้อเสนอแนะ สำ �หรับผู้สอนที่สนใจนำ �โปรแกรม Tinkercad ไปใช้เป็นสื่อฝึกออกแบบสามมิติในการเรียนออนไลน์ หรือเรียนในชั้นเรียน และขาดสื่อเครื่องพิมพ์สามมิตินั้น ผู้เขียนแนะนำ �สถานที่่�ท ี่่สอนสามารถติดต่อขอใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ ได้แก่ 1. สถานศึกษา 150 แห่งใน 5 ภูมิภาคที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำ �เนินโครงการโรงประลองต้นแบบทาง วิศวกรรม (Fabrication Lab) จาก สวทช. (รายชื่อสถานศึกษาตามลิงค์ https://www.nstda.or.th/fablab/insti- tute.html) 2. Fabrication Laboratory บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (สอบถามได้ที่ shm_sms@ nstda.or.th หรือโทรสอบถามที่ 025297100 ต่อ 77219, 77235, 77236, 77239) 3. FabLab Bangkok ตั้งอยู่่�ท KX Knowledge Exchange Innovation Center (รายละเอียดตามลิงค์ https://www. fablabs.io/labs/fablabbkk ) 4. Fabrication Laboratory ของมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ข้อมูลเพิ่มเติมตามลิงค์ https://www.eidts.kmitl.ac.th/excellent-centers/fabrica- tion-laboratory/) 5. Maker space หลายแห่งในประเทศไทย เช่น Chiang Mai Maker Club (จังหวัดเชียงใหม่) Maker Zoo (ตั้งอยู่ ที่เอกมัย อย 4) FabCafe (ตั้งอยู่่�ท อารีย์ อย 1) Home of Maker (ตั้งอยู่่�ท Fortune IT Mall พระราม 9) 6. บริษัทเอกชนที่ให้บริการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติทั่วไป การขอใช้บริการเครื่องพิมพ์สามมิตินั้น ผู้สอนสามารถทำ �ได้สะดวกโดยมอบหมายให้ผู้เรียน Save เป็นไฟล์ รวบรวม และส่งไปยังปลายทางเพื่อขอใช้บริการพิมพ์สามมิติ ซึ่่� งผู้เขียนเคยทดลองสอนออกแบบสามมิติด้วยโปรแกรม Tinkercad แบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระยะแรก และให้ผู้เรียนส่งไฟล์ชิ้นงานสามมิติที่เสร็จ เรียบร้อยแล้วผ่านทางแอพพลิเคชันไลน์ จากนั้นผู้สอนดำ �เนินการปรับแก้ไฟล์เล็กน้อยและสั่งพิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ของ Fabrication Laboratory บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เพื่อส่งกลับให้ผู้เรียนทางไปรษณีย์ โดยข้อดีของการใช้บริการ เครื่องพิมพ์สามมิติ คือ ลดขั้นตอนดูแลรักษาเครื่องหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น หัวพิมพ์ตัน มอเตอร์บางตัวไม่ทำ �งาน อย่างไรก็ตามหากไม่มีเครื่องพิมพ์สามมิติในขณะสอน อุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ ผู้สอนและผู้เรียนต้องรอการส่งคืนชิ้นงานจาก ผู้ให้บริการเครื่องพิมพ์สามมิติ สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความแบ่งปันประสบการณ์การใช้สื่อโปรแกรม Tinkercad ออนไลน์ในการสอนออกแบบสามมิติ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนหรือผู้สนใจใช้เครื่องมือหรือสื่อสำ �หรับ จัดการสอนในห้องเรียนดิจิทัล รวมทั้งผู้สอนที่่ำ �ลังวางแผนการสอนออนไลน์ในขณะนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1