นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 229 มีนาคม - เมษายน 2564

50 นิตยสาร สสวท.ิ ต แบบจำ �ลองวิทยาศาสตร์มีประโยชน์หรือให้คุณค่าอะไรบ้าง จากคำ �ถามข้อที่ 1 และ 2 และคำ �อธิบาย เห็นได้ชัดว่า การให้ความหมายของแบบจำ �ลองและวัตถุประสงค์ของ แบบจำ �ลองในมุมมองที่ 3 เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับแบบจำ �ลองที่สอดคล้องกับแนวคิดและกระบวนการทำ �งานของนักวิทยาศาสตร์ เช่น แบบจำ �ลองวิทยาศาสตร์สร้างได้อย่างไร วัตถุประสงค์คืออะไร (Lazenby et al., 2020) และมุมมองหรือความเข้าใจดังกล่าว สามารถสะท้อนวิธีการสอนโดยใช้แบบจำ �ลองสอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนจึงขอเชื่อมโยงคุณค่าหรือประโยชน์ ของการใช้แบบจำ �ลองในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับ ดังนี้ คำ �ถามท่� 3 1. บทบาทของผู้เรียนในการดำำ �เนินกิจกรรมในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ การใช้มุมมองที่ 3 เป็นกรอบในการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้ใช้แบบจำ �ลองเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ เช่น สร้าง ประเมิน และดัดแปลงแบบจำ �ลองใน การเรียนรู้้ิทยาศาสตร์ มากกว่าวิธีการที่ครูใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนด้วยการใช้แบบจำ �ลอง วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการบรรยายความรู้ อีกทั้งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิิบัติแล้ว ผู้เรียนยังเรียนรู้เกี่ยวกับแบบจำ �ลอง อีกด้วย 2. การปฏิิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นตัวแทนการทำ �งานของนักวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์จะสร้างแบบจำ �ลอง เพื่ออธิบายและทำ �นายปราก การณ์ธรรมชาติอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งใช้แบบจำ �ลองในการพัฒนาองค์ความรู้้ิทยาศาสตร์ ดังนั้น ถ้าครูใช้มุมมองที่ 3 เป็นกรอบในการจัดการเรียนรู้ จึงควรให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้้ิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และความรู้เกี่ยวกับการได้มาซึ่่� งความรู้้ิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและปฏิิบัติเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ 3. ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แบบจำ �ลองเป็นความรู้้ิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง การสร้างและพัฒนาแบบจำ �ลองโดยมนุษย์ ในมุมมองที่ 3 จะทำ �ให้ผู้เรียนเข้าใจว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ ในทางตรงกันข้าม การใช้มุมมองที่ 1 ในการจัด การเรียนรูุ้้กครั้ง อาจจะทำ �ให้ผู้เรียนเข้าใจว่าแบบจำ �ลองวิทยาศาสตร์ทีู่่กต้องมีเพียงแบบจำ �ลองเดียว และไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากแบบจำ �ลองสร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ แบบจำ �ลองวิทยาศาสตร์เป็นแนวคิดของ นักวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการตีความหมายในผลการทดลอง ดังนั้น จึงต้องมีและตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ 4. การให้เหตุผลหรือการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแบบจำ �ลองเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นปกติ ในการทำ �งานของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์แปลผลหรือให้คำ �อธิบายอยู่บนพื้นฐานของผลการทดลองหรือ ผลการวิจัย (Lazenby et al., 2020) เช่นเดียวกันกับในห้องเรียน การใช้กรอบของมุมมองที่ 3 ในการจัดการเรียนรู้ ครูอาจ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำ �อธิบาย ให้เหตุผลของการสร้าง หรือดัดแปลงแบบจำ �ลองที่สนับสนุนหลักฐานเชิงประจักษ์ ( Empirical Evidence) เช่น การให้เหตุผลของการแก้ไขแบบจำ �ลอง เนื่องจากแบบจำ �ลองที่สร้างขึ้นไม่สอดคล้องกับผลการทดลอง หรือข้อโต้แย้ง หรือแบบจำ �ลองที่สร้างขึ้นสนับสนุนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์แล้ว จึงไม่แก้ไข

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1