นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564

10 นิตยสาร สสวท.ิ ต ส่วนเนื้อหาวิทยาการค� ำนวณ มีการแนะน� ำให้ก� ำหนดชั่วโมงได้ตามความเหมาะสม และความพร้อมของสถานศึกษาแต่ละแห่ง แต่มีจ� ำนวนชั่วโมงขั้นต�่ ำที่จะท� ำให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรได้ ดังภาพ 3 ึ่งจะเห็นได้ว่าใช้เวลาในแต่ละปีไม่มากนัก แต่อย่างไร ก็ตาม จากสภาพการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ พบว่าเรื่องเวลาเรียนเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ส� ำคัญ เพราะในแต่ละชั้นปีนักเรียนต้องเรียนรู้หลายสาระวิชา หลากหลายกิจกรรม รวมทั้งผู้สอนมีภาระอื่นๆ นอกเหนือจากงานสอนอีก ด้วย จากข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนมีความคิดว่า หากเราสามารถผสมผสานการพัฒนาทักษะการคิดเชิงค� ำนวณกับวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ โดยใช้ลักษณะการเรียนรู้ที่ร่วมกันได้ และเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แล้วน� ำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และมีระบบ คล้ายกับการคิดอย่างคอมพิวเตอร์ โดยอาจน� ำไปผสมผสาน ในการคิด การวิเคราะห์ การสร้างค� ำอธิบาย และการสะท้อนความคิด ในมุมผู้สอนสามารถใช้เป็นการประเมินระหว่างเรียน ได้เช่นเดียวกัน ในการน� ำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมและระบุทักษะการคิดเชิงค� ำนวณแต่ละทักษะคู่ขนานไปกับกิจกรรมในแต่ละขั้น ทั้งนี้ผู้เขียนจึงขอเสนอตัวอย่างการบูรณาการทักษะการคิดเชิงค� ำนวณกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ ดังนี้ แผนการจัดกิจกรรมนี้ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาการสืบพันธุ์ของพืชดอก ที่ผสมผสานทักษะการคิดเชิงค� ำนวณ ที่อยู่ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ึ่งผู้เขียนได้ทดลองน� ำไปจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ร่วมกับครูวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ภาพ 3 โครงสร้างเวลาเรียนวิทยาการค� ำนวณ ตัวอย่างกิจกรรมผสมผสานแนวคิดเชิงค� ำนวณกับวิทยาศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1