นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564

29 ปีที่ 49 ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564ี ที่ ั บี่ ิ ง ก่อนเข้าชั้นเรียนออนไลน์ ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนได้ศึกษาบทเรียนและท� ำแบบฝึกหัด ผ่านการผสมผสานระหว่างการสร้างบทเรียน ออนไลน์ในเว็บไ ต์ YouTube (ภาพ 2) ึ่งเป็นการเฉลยแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนบางข้อที่มีความแตกต่างกัน และมอบหมาย ให้ผู้เรียนศึกษาจากเว็บไ ต์ proj14.ipst.ac.th (ภาพ 3) โดยได้สร้างเป็นเนื้อหาใน Google Classroom นอกจากนั้น ผู้สอนได้สร้างเนื้อหาและแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเรื่องล� ำดับและอนุกรม ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผ่านโปรแกรม ThinkLink (ภาพ 4) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้ศึกษารูปแบบ และโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และเห็นว่าการใช้โปรแกรมแบบผสมผสานผ่านการจัดการเรียน รู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped–Classroom) เป็นวิธีจัดการ เรียนรู้ที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียน รวมทั้งผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ ปฏิบัติการสอนในรายวิชาเสริมทักษะคณิตศาสตร์ 5 จึงได้มอบหมาย ให้ผู้เรียนศึกษาทบทวนความรู้เดิมด้วยตนเอง จากบทเรียนที่ ผู้เขียนออกแบบและสร้างขึ้นไว้ก่อนเข้าชั้นเรียนแบบออนไลน์ รวมทั้งร่วมกันท� ำการบ้านหรือแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เรียนใช้เวลา ในชั้นเรียนส� ำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปราย ลงมือปฏิบัติ ทดแทนการฟังบรรยายในการสอนรูปแบบเดิม นอกจากนี้ ภาพ 2 ช่องทางการเรียนรู้บทเรียนล่วงหน้าในเว็บไ ต์ YouTube.com ภาพ 3 ช่องทางการเรียนรู้บทเรียนล่วงหน้า ในเว็บไ ต์ proj14.ipst.ac.th ผู้เขียนได้ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนกันท� ำโจทย์ปัญหาที่ั บ้ อนเป็น กลุ่ม และน� ำเสนอผ่านโปรแกรม Zoom เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ กับเพื่อนนักเรียน จะเห็นได้ว่าลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนกลับด้านนั้น มีความเป็นไปได้ในการขจัดปัญหาเรื่อง พฤติกรรมการเรียนรู้ เช่น ความเกียจคร้าน สมาธิ การจดจ่อ การขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้ เรียน ที่พบมากใน การเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากลักษณะการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านช่วยก่อให้เกิดแรงกระตุ้นแบบเชิงรุก ผู้เขียนได้ท� ำการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ดังกล่าว โดยมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ ออนไลน์ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1