นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564
31 ปีที่ 49 ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564ี ที่ ั บี่ ิ ง ผลที่เกิดขึ้น 1. ผู้เรียนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ มีการโต้ตอบกับครูผู้สอนมากขึ้น ผู้เรียน มีความสามารถในการใช้โปรแกรมและเทคโนโลยีในการนำ �เสนองานในรูปแบบออนไลน์ เช่น Canva GoodNotes Google Slides และนำ �เสนอในรูปแบบวีดิทัศน์ 2. การแบ่งกลุ่มโดยใช้โปรแกรม Zoom ท� ำให้ผู้เรียนได้ท� ำงานกลุ่มแบบอิสระ เมื่อผู้สอนเข้าไปสังเกต การท� ำงานในแต่ละกลุ่มย่อย พบว่าผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการตั้งค� ำถามมากขึ้น กล้าที่จะเปิดกล้อง และมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้สอน 3. บทเรียนจาก YouTube และ Project 14 ท� ำให้ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาและแบบฝึกหัดได้ตลอดเวลา บรรณานุกรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). (2564). รวมบทความการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วง การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2564, จาก https://www.spsm.ac.th/home/pdf/onlinecovid.pdf. การประเมินผล ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มน� ำเสนอแนวคิด หลักการในการท� ำโจทย์แบบฝึกหัดผ่านโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีความ สะดวกในการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เรียนท� ำงานกลุ่ม และท� ำการประเมินผลโดยเพื่อนในชั้นเรียน ส� ำหรับครูผู้สอนจะใช้ การถามค� ำถามในการประเมินผล (ภาพ 6) ภาพ 6 บรรยากาศการน� ำเสนอโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผ่านโปรแกรม Zoom แนวทางในการจัดการเรียนการสอนข้างต้น เป็นแนวทางหนึ่งที่ได้ทดลองและปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบท ของผู้เรียนและโรงเรียนของผู้เขียน ในช่วงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับผู้้่าน และสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1