นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564

9 ปีที่ 49 ฉบับที่ 231 กรกฎาคม - สิงหาคม 2564ี ที่ ั บี่ ิ ง เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการด� ำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้ และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยค� ำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงค� ำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การท� ำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม ในเอกสารคู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการค� ำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้ขยายความว่า ทักษะการคิดเชิงค� ำนวณ (Computational Thinking) เป็นกระบวนการในการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลเป็นขั้นตอน เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา ในรูปแบบที่สามารถนําไปประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะนี้มีความสําคัญในการพัฒนา อฟต์แวร์ นอกจากนี้ ยังสามารถนําไปใช้แก้ปัญหาในศาสตร์อื่นๆ และปัญหาในชีวิต ประจําวันได้ด้วย ทักษะการคิดเชิงคํานวณมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. การแบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย/งานย่อย (Decomposition) เป็นการพิจารณาและแบ่งปัญหา/งาน/ส่วนประกอบ ออกเป็นส่วนย่อย เพื่อให้จัดการกับปัญหาได้ง่ายขึ้น 2. การพิจารณารูปแบบของปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหา (Pattern Recognition) เป็นการพิจารณารูปแบบ แนวโน้ม และลักษณะทั่วไปของปัญหา/ข้อมูล 3. การพิจารณาสาระสําคัญของปัญหา (Abstraction) เป็นการพิจารณารายละเอียดที่สําคัญของปัญหา แยกแยะสาระสําคัญ ออกจากส่วนที่ไม่สําคัญ 4. การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithms) ขั้นตอนในการแก้ปัญหาหรือการทํางาน โดยมีลําดับของคําสั่งหรือวิธีการที่ ชัดเจน เพื่อให้ผู้อื่นน� ำไปปฏิบัติตามได้ ภาพ 2 คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการค� ำนวณ) เมื่อหลายคนได้ยินค� ำว่าเทคโนโลยีหรือคอมพิวเตอร์ บางส่วนอาจจะคิดว่านักเรียนต้องใช้เครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์ใน การเรียนรู้ แต่แท้จริงแล้วเป้าหมายแรกของวิทยาการค� ำนวณ คือ การท� ำให้ผู้เรียนแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ดังนั้น หนังสือเรียนและกิจกรรมการเรียนรู้ส� ำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา จึงเน้นไปที่กิจกรรม Unplugged ที่เปิดโอกาส ให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยไม่จ� ำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ให้นักเรียนวางแผนการเดินทางจากโรงเรียน ไปบ้านเพื่อนให้ไปถึงก่อนค�่ ำ แต่มีเงินอยู่ไม่มากนัก นักเรียนอาจวางแผนว่าจะขึ้นรถเมล์สายใดจึงจะประหยัดทั้งเงินและประหยัด เวลา หรือการวางแผนในการส่งของในสถานที่ต่างๆ ด้วยระยะทางที่ใกล้ที่สุด มาตร าน ว 4.1 มาตร าน ว 4.2

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1