นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564
11 ปีที่ 49 ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564ี ที่ ั บี่ ั นุ ล เว็บไซด์เกม bit.ly/232-r1 วีดิทัศน์การเล่นเกม เกม Balloon Racing ในรูปแบบออนไลน์สามารถใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์เดสท็อป สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในสื่อเสริมการเรียนรู้้�ท จะทำให้นักเรียนเข้าถึงการศึกษาได้ตลอดเวลา ไม่มีข้อจำกัดของสถานที่หรือจำนวนผู้เล่น ที่พร้อมเล่นในเวลาเดียวกัน เนื่องจากมีทั้งระบบที่เล่นกันระหว่างผู้เล่นกับผู้เล่น ผู้เล่นกับปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) และเล่นแบบผสมผู้เล่น - ผู้เล่น - ปัญญาประดิษฐ์ โดยสามารถเล่นได้ตั้งแต่ 1 - 4 คน นอกจากการพัฒนาเกมในรูปแบบออนไลน์ จะมีข้อดีดังที่กล่าวมาแล้ว ยังสามารถส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อีกด้วย เมื่อเริ่มต้นใช้งานเกม Balloon Racing จะมีระบบให้ลงทะเบียนหรือ Log in โดยผู้เล่นสามารถเลือก Log in ผ่าน Facebook หรือ Google ก็ได้ เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่ Lobby ซึ่่� งผู้เล่นที่เข้ามาเล่นเป็นครั้งแรกสามารถศึกษา การเล่นเกมได้ในโหมดฝึกเล่น แต่สำหรับผู้เล่นที่่้องการเริ่มเล่นเกมก็สามารถสร้างห้องเพื่อเล่นเกมได้ โดยจะสร้างได้ทั้งแบบ ห้องส่วนตัว (Private Game) สำหรับการเล่นกันเองในกลุ่มเพื่อน และชวนเพื่อนมาเล่นในห้องเดียวกันได้โดยใช้ ID ห้อง หรือห้องสาธารณะ (Public Game) ที่่�ผ เล่นอื่นทั่วไปเข้ามาร่วมเล่นได้ เมื่อสร้างห้องเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นที่เป็นผู้สร้างห้องจะสามารถเลือกห้องที่จะเล่นได้ โดยมีให้เลือกทั้งหมด 5 ห้อง คือ ถ้ำมอส ถ้ำน้ำแข็ง ถ้ำลาวา เหมืองเพชร และเมืองโบราณ โดยในแต่ละห้องจะมีแผนที่ในการเล่นที่แตกต่างกัน สำหรับรายละเอียด ในการเล่นเกมก็จะเหมือนเกม Balloon Racing ในรูปแบบเกมกระดาน ทั้งนี้ หากในระหว่างการเล่นเกม ผู้เล่นไม่แน่ใจความสัมพันธ์ ของตัวแปรต่างๆ ตามกฎของแก๊ส สามารถกดที่การ์ดเพื่อดูรายละเอียดความสัมพันธ์ตามกฎนั้นๆ ได้ สำหรับผู้สนใจจะเล่นเกมนี้ออนไลน์เพื่อเรียนรู้ เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส หรือครูที่สนใจจะนำเกมนี้ ไปให้นักเรียนเล่น สามารถไปเล่นเกมฉบับทดลองได้ที่ เว็บไ์ https://game-progaming-balloon-racing.web.app สำหรับเกม Balloon Racing ในรูปแบบเกมออนไลน์นี้ นอกจากนักเรียนจะใช้ในการทบทวนความรู้เรื่องแก๊สและสมบัติ ของแก๊สผ่านการเล่นเกมด้วยตัวเองได้ตามเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว เกมดังกล่าว ยังมีความสะดวกในการใช้งาน และรูปแบบเกมมีความสนุกสนานและความท้าทาย จึงสามารถดึงดูดความสนใจจากครูให้นำไป ใช้เป็นสื่อเสริมประกอบการเรียนการสอนได้ โดยระหว่างที่่ักเรียนเล่นเกมอยู่่�น นครูอาจใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ของนักเรียน หรือยกตัวอย่างปรากฎการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับกฎต่างๆ ของแก๊ส ตลอดจน เชื่อมโยงความรู้้�ท ได้จากการเล่นเกมมาสรุปร่วมกันตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้อีกด้วย บรรณานุกรม Yun-Jo An. et.al. (2016). Using educational computer games in the classroom: Science teachers’ experiences, attitudes, perceptions, concerns, and support needs. Contemporary Issues in Technology & Teacher Education. 16 (4): 415-433. Meihua, Q. & Karen, R. Clark. (2016). Game-based Learning and 21st century skill: A review of recent research. Computers in Human Behavior. 63 : 50-58. ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2559). Game-Based Learning กับการพัฒนาการเรียนการสอนทางการพยาบาล. Journal of Nursing Division- าร าร ง ารพยา าล. 43 (2): 20-29. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). หนัังสืื เรีย รายวิิชาเพิ� มเติิมวิิ ยาศา์ และเ คโ โลยี เคมี ชั� นมััธยมศึ ษาปีีที่� 5 เล่ม 3 กลุ่่ม าระ ารเรียนรู้้วิิ ยาศา์ (ฉบัััุ ง พ.ศ.2560) ามหลัู รแ ลาง ารศึ ษาขั� นพื้� าน พุุ ธศั ราช 2551 กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุพรรณี ชาญประเสริญ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิิ ย าร . 42 (188): 3-6.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1