นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564

20 นิตยสาร สสวท.ิ ต ส่วนในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จะเรียนเนื้อหาการเปรียบเทียบเศษส่วนที่่ัวส่วนไม่เท่ากัน ซึ่่� งมีวิธีนำเสนอเนื้อหา ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยให้ผู้เรียนใช้ความรู้้ึกเชิงจำนวน (Number Sense) มาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบ ซึ่่� งความรู้้ึก เชิงจำนวนนี้เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่่�ผ สอนจะต้องส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ ตามทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยได้นำเสนอเนื้อหา ไว้ดังนี้ 1. การเปรียบเทียบเศษส่วน โดยใช้ 1 2 เป็นเกณฑ์์ในการเปรียบเทียบ ภา ตัวอย่างการนำเสนอเนื้อหาในหนังสือเรียนใหม่ ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) จะเห็นได้ว่าการนำเสนอเนื้อหานี้ใช้ 1 2 เป็นเกณฑ์์ในการเปรียบเทียบ ซึ่่� งวิธีดังกล่าวผู้สอนบางคนอาจไม่คุ้นชิน แต่สำหรับผู้เรียนแล้ว จะรู้และเข้าใจความหมายของ 1 2 หรือ ครึ่ง มาแล้วในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สสวท. จึงได้นำเสนอ วิธีเปรียบเทียบเศษส่วนโดยใช้ 1 2 หรือ ครึ่ง เป็นเกณฑ์์ในการเปรียบเทียบ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้้ึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับเศษส่วนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องดังกล่าว ผู้สอนจึงจำเป็นต้องทบทวนความหมายของ 1 2 หรือครึ่งก่อน โดยอาจ กำหนดจำนวนนับ แล้วให้ผู้เรียนบอกครึ่งหนึ่งของจำนวนนับนั้น จากนั้นอาจจัดเป็นกิจกรรมการแข่งขัน โดยให้ผู้เรียน 2 ฝ่าย ผลัดกันถามและตอบในเรื่องดังกล่าว เมื่อผู้เรียนเกิดทักษะแล้ว จึงเชื่อมโยงไปสู่่ิธีการเปรียบเทียบเศษส่วนจาก หนังสือเรียน รายวิชาพื้� นฐานคณิตศาสตร์ ชั� นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง .ศ. 2560) ของ สสวท. โดยหน้า 5 และหน้า 6 เป็นการหาเศษส่วนที่เท่ากับ 1 2 ส่วนหน้า 7 เป็นการเปรียบเทียบเศษส่วนกับ 1 2 ทั้งนี้ ผู้สอนสามารถทำความเข้าใจได้ โดยพิจารณาจากสื่อประกอบคำอธิบาย ดังนี้ ตัวอย่าง เปรียบเทียบ 5 6 กับ 1 2 เขียนแสดงด้วย 5 6 เขียนแสดงด้วย 1 2 เมื่อใช้แผ่นวงกลมแสดง 5 6 และ 1 2 ผู้สอนสามารถตอบได้ทันทีว่า 5 6 > 1 2 และเมื่อพิจารณา 5 6 พบว่าครึ่งของ 6 คือ 3 แสดงว่า 3 6 = 1 2 แต่ 5 > 3 ดังนั้น 5 6 > 1 2

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1