นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564
36 นิตยสาร สสวท.ิ ต สุวินัย มงคลธารณ์ • ผู้ชำนาญ ฝ่ายโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม สสวท. • e-mail: smong@ipst.ac.th การเรียนกระ น ความคิด เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือที่่�ร ูักกันดี ในชื่อว่า Climate Change ในความหมายตามกรอบอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) หมายถึง “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมมนุษย์ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศ เปลี่ยนแปลงไป” และความหมายตามคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) หมายถึง “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจากความผันแปรตามธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมมนุษย์” (ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา, 2564) อย่างไรก็ตาม ภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจะเกิดขึ้นจากความผันแปรตามธรรมชาติหรือจากกิจกรรมมนุษย์ เราต่างยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแม้เพียงเล็กน้อยกลับส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก โดย GERMANWATCH ซึ่่� งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไรของประเทศเยอรมัน ได้ตีพิมพ์เอกสาร ดัชนีชี้้ัดความเสี่ยง ต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก (Global Climate Risk Index-CRI) และมีรายงานออกมาทุกปีติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน ใน Global Climate Risk Index 2019 GERMAN WATCH รายงานการวิเคราะห์และจัดลำดับว่าประเทศต่าง ๆ ได้รับผลกระทบ ที่เกิดจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Event) เช่น พายุ ลูกเห็บ น้ำท่วม และคลื่นความร้อน ตัวชี้้ัด ที่ใช้ในการคำนวณมี 4 ตัว คือ (1) จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ (2) จำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน (3) ความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ และ (4) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดร้อยละของจีดีพี โดยใช้ข้อมูลในปี ค.ศ. 2019 และข้อมูลในช่วงปี ค.ศ. 2000 – 2019 พบว่าในรายงานนี้ ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของประเทศที่่ีความเสี่ยงสูงทีุ่่ดในโลกจากทั้งหมดประมาณ 180 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระยะยาวตลอดระยะเวลา 20 ปีที่่่านมา (ปี พ.ศ. 2543 – 2562) (ภาพ 1) ทั้งจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่่ีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณฝนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในฤดูน้ำหลากและปริมาณฝนเฉลี่ย ที่่้อยลงในฤดูแล้งซึ่่� งส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง และวาตภัยทีุ่่นแรงและบ่อยครั้งมากขึ้น โดยประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติถึง 137 ครั้ง ผลกระทบเหล่านี้้่งผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจของประเทศ การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาเมือง การย้ายถิ่นฐานของประชากร การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการแพร่กระจายของโรค ซึ่่� งจะส่งผล ต่อผลิตภัณฑ์์มวลรวมของประเทศ( GDP: Gross Domestic Product) อย่างใหญ่หลวง ภา 1 ดัชนีชี้้ัดความเสี่ยง ต่อการเปลี่ยนแปลง ของภูมิอากาศโลก (Global Climate Risk Index 2019) ที่มา GERMANWATCH (2019) Climate Change กัับ ารเตรียมรับมือของ ารศึึ ษาไทยัีัืึ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1