นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564
39 ปีที่ 49 ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564ี ที่ ั บี่ ั นุ ล นอกจากนี้ จากผลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ในอนาคต ปี พ.ศ. 2549 – 2643 (ค.ศ. 2006 - 2100) ด้วยแบบจำลองสภาพ ภูมิอากาศระดับภูมิภาค พบว่า หากประเทศไทยใช้มาตรการลดแก๊สเรือนกระจก ระดับปานกลาง และกำหนดค่าปริมาณการแผ่รังสีคงที่ 4.5 วัตต์ต่อตารางเมตร (RPC4.5) (ภาพ 4) อุณหภูมิอากาศในประเทศไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 องศาเ ลเี ยส สอดคล้องกับผลการคาดการณ์ในระดับภูมิภาคและระดับโลก (จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์และคณะ, 2562) ซึ่่� งจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิ อากาศของโลกโดยรวมและประเทศไทยในอนาคตมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรง และร้อนมากยิ่งขึ้น ภา 3 ค่าเฉลี่ยรายปีของอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันของประเทศไทยในอนาคต จากการย่อส่วนแบบจำลองภูมิอากาศโลก GCM - GFDL - ESM2M ภา 4 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต ปี พ.ศ. 2549 – 2643 (ค.ศ. 2006 - 2100) ที่มา ดัดแปลงจาก จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์ (2564) หมายเหตุ - Global Climate Model (GCM) คือ แบบจำลองภูมิอากาศโลก - Geophysical Fluid Dynamics Laboratory Earth System Model Version 2M (GFDL - ESM2M) - Representative Concentration Pathway (RCP) คือ สถานการณ์ ที่รวมอนุกรมเวลาของการปล่อย แก๊สเรือนกระจก และความเข้มข้น ของแก๊สเรือนกระจก แอโร อล และแก๊สที่ออกฤทธิ� ทางเคมี ตลอดจนการใช้ที่่ิน/การปกคลุม ที่่ิน - สถานการณ์จำลอง RCP4.5 และ RCP6.0 หมายถึง สถานการณ์ที่ใช้ มาตรการลดแก๊สเรือนกระจก ระดับปานกลาง และกำหนดค่า ปริมาณการแผ่รังสีคงที่ 4.5 และ 6.0 วัตต์ต่อตารางเมตร ตามลำดับ - สถานการณ์จำลอง RCP8.5 หมายถึง สถานการณ์ที่คาดการณ์ว่า การปล่อยแก๊สเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว และกำหนด ค่าปริมาณการแผ่รังสีคงที่ ที่ 8.5 วัตต์ต่อตารางเมตร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1