นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564

40 นิตยสาร สสวท.ิ ต ารเปลี่่� ยนแป งภููมิอา าศต่่อสุข า แ ะความเสี� ยงจา โรคระบาดของประชา รไทย่ � ยู มิอ่ อุ ขี � ย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาด้านสุขภาพของมนุษย์ เช่น คลื่นความร้อนรุนแรง อุทกภัยทางธรรมชาติและความแปรปรวนของการเกิดฝนตก การเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติ้ ำ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิมีผลต่อการเพิ่มจำนวนของพาหะนำโรคและการอยู่รอดของเชื้อโรค โดยอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนเพิ่มสูงขึ้น ในหลาย ๆ พื้นที่ เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคที่่ีแมลงเป็นพาหะและโรคระบาดที่มาจากน้ำเพิ่มมากขึ้น (Parry et al, 2007) ในกลางศตวรรษที่ 21 ปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ประเทศไทยจะมีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 1.16 องศาเ ลเี ยส เปรียบเทียบจากปี พ.ศ. 2474 – 2523 (ค.ศ. 1931 – 1980) ซึ่่� งจะส่งผลให้โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มจะระบาดมากขึ้นตามไปด้วย ผลจากแบบจำลองโรคไข้เลือดออก Epidemic Potential (EP Model) ระบุว่า แนวโน้มโรคไข้เลือดออกจะระบาดมากทีุ่่ด ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม และระยะเวลาเชื้อเพิ่มจำนวน 3 เดือนจึงพบผู้้่วยมากทีุ่่ดในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม (Jonathan et al, 1998) นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราการเกิดโรคระบาดในอนาคต ปี พ.ศ. 2643 (ค.ศ. 2100) จังหวัดส่วนใหญ่ของประเทศไทย จะพบโรคมาลาเรียที่่ีความสัมพันธ์กับลักษณะอากาศมากกว่าโรคไข้เลือดออก มีเพียงส่วนน้อยที่อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การข้ามเขตแดนระหว่างประเทศของประชากร ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ (ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยฯ, 2554) ซึ่่� งสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกที่คาดการณ์ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2573 - 2593 ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะเป็นสาเหตุของการตายจากการขาดอาหาร มาลาเรีย ท้องร่วง และความเครียดจากความร้อน โดยประเทศกำลังพัฒนาซึ่่� งส่วนใหญ่ระบบสาธารณสุขไม่มีประสิทธิภาพ จะมีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศมากกว่าประเทศที่่ัฒนาแล้ว (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561) ารเตรียมรับมือของ ารศึึ ษาไทยต่อ ารเปลี่่� ยนแป งภููมิอา าี ยั บื อึ่ อ่ � ยู มิอ จากข้อมูลสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การคาดการณ์สถานการณ์ของประเทศไทยในอนาคต และผลกระทบ ต่อสุขภาพและความเสี่ยงจากโรคระบาด แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและเผย แพร่องค์ความรู้้้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสนอว่าเยาวชนไทยควรได้รับองค์ความรู้เพื่อรู้เท่าทันและสามารถปรับตัว ต่อการเปลี่ยนภูมิอากาศ เรียนรู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเป้าหมายการเพิ่มขึ้น ของอุณหภูมิโลก 1.5 องศาเ ลเี ยส ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิถีการลดผลกระทบ แนวทางการจัด การการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัว โดยสอดแทรกองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในหลักสูตร การศึกษาในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศึกษา ซึ่่� งเน้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากตัวอย่างสถานการณ์ หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อสร้างความสนใจ เสริมสร้างประสบการณ์ของผู้เรียน และส่งเสริมกิจกรรมที่เน้น การสร้างพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน (ภัทรา เพ่งธรรมกีรติ, 2564) สสวท. ซึ่่� งมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย ได้ดำเนินการพัฒนาหนังสือกิจกรรมการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ที่่ัฒนาขึ้นตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้้ิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 - 2579 รวมทั้งแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ปี พ.ศ. 2558 - 2593 ในการสร้างขีดความสามารถ

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1