นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564

45 ปีที่ 49 ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564ี ที่ ั บี่ ั นุ ล ตั อ่ างกาั ดกิจก มกา เี นรู้้� แบบ่ มมือผ่่านสื่� อออนไลน์์ กิจกรรมนี้้ัฒนาขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในวิชา ว30503 เคมีสีเขียว หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีพุทธศักราช 2562 เป็นวิชาเลือกเพิ่มเติมที่เปิดให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ได้มีโอกาสเลือกเรียน ซึ่่� งนักเรียน จะมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีมาแล้ว เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 และมีการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ ทำให้ต้องปรับการเรียนการสอนบางส่วนเป็นออนไลน์ ในสถานการณ์ดังกล่าว นักเรียนไม่สะดวก ในการออกนอกที่่ักอาศัย ไม่สะดวกในการหาซื้้� ออุปกรณ์ ในขณะที่การทำงานเป็นทีมผ่านการสื่อสารช่องทางออนไลน์เป็นทักษะ ที่่้องมีในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ออกแบบกิจกรรมที่่ักเรียนสามารถทำได้สะดวกจากวัสดุอุปกรณ์ ที่่ีอยู่แล้ว และใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อทำงานร่วมกันผ่านคำถามปลายทางที่่ักเรียนต้องออกแบบการทดลองตามแนว ของการสืบเสาะหาความรู้แบบกึ่งกำหนดโครงสร้างเพื่อตอบคำถามนั้น ครูกำหนดปัญหาให้ จากนั้นนักเรียนเป็นผู้กำหนดแนวทาง การแก้ปัญหา ออกแบบวิธีการทดลองเพื่อหาคำตอบ บทบาทครูคอยสังเกตและให้คำปรึกษา เตรียมคำถามปลายเปิดเพื่อให้ นักเรียนได้ขยายความรู้ และสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการเรียนออนไลน์แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง การประหยัดพลังงาน ซึ่่� งเป็นหลักการหนึ่งของเคมีสีเขียว นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่าง การใช้พลังงานในกระบวนการทางเคมี เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิิบัติการเคมี และศึกษาตัวอย่าง การประหยัดพลังงาน เช่น การออกแบบกระบวนการสังเคราะห์เคมีโดยใช้ปฏิิกิริยาเคมีที่สามารถเกิดได้ ทีุ่่ณหภูมิห้องและความดันปกติ เป็นต้น 2. ครูมอบหมายงานการทดลองเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนทำงานร่วมกันกลุ่มละ 4 คน โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิดออกแบบการทดลองเพื่อตอบคำถามต่อไปนี้หลังจากเสร็จสิ้น การทดลองแล้ว ซึ่่� งในขั้นตอนนี้้ักเรียนสามารถปรึกษากัน ผ่านห้องประชุมย่อยที่ครูสามารถเข้าไปให้คำปรึกษา ในแต่ละห้องของแต่ละกลุ่มได้ คำถามที่ 1 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการต้มน้ำของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีความแตกต่างกันหรือไม่ - นักเรียนจะต้องเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างน้อย 2 ชนิด มาทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การใช้พลังงงาน คำถามที่ 2 ปัจจัยใดที่่ีผลต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการต้มน้ำของเครื่องใช้ไฟฟ้า - นักเรียนเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 ชนิด ทำการทดลองศึกษาหนึ่งปัจจัยที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพการใช้ พลังงาน เช่น ปริมาตรของน้ำ ชนิดของภาชนะ พฤติกรรมการใช้งาน (เปิด/ปิด ฝาหม้อ) 3. นักเรียนทำการทดลองซึ่่� งอาจมีการนัดหมายกันนอกคาบเรียน เพื่อทำการทดลอง รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อเตรียมนำเสนอในคาบเรียนต่อไป นอกจากนี้ นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องไปกรอกข้อมูลใน Google Sheet ผลการทดลองรวมของทั้งห้อง 4. สัปดาห์ถัดไปนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทดลอง กลุ่มละ 5 นาที และมีการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน กลุ่มละ 5 นาที โดยประมาณ 5. นักเรียนและครูร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยนักเรียนใส่ผลการทดลองของตนเองใน Google Sheet ที่่ักเรียน จะเห็นผลการทดลองของเพื่อนกลุ่มอื่นด้วย และหลังจากนำเสนอผลการทดลองของกลุ่มตนเอง ครูถามคำถามให้ นักเรียนเปรียบเทียบประสิทธิภาพการต้มน้ำของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ตัวแปรต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำ ภาชนะที่ใช้ มีผลต่อการทดลองหรือไม่ ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการวัดผลการทดลอง มีสิ่งใดบ้าง จากนั้นครูนำข้อมูล รวมของทุกกลุ่มจาก Google Sheet มาแสดงผลโดยใช้ Google Data Studio และนำอภิปรายสรุปกิจกรรม ด้วยคำถาม “ถ้านักเรียนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด นักเรียนจะเลือกวิธีการใดในการต้มน้ำ เมื่อนักเรียน ต้องการใช้น้ำร้อน 1 แก้ว”

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1