นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 232 กันยายน - ตุลาคม 2564

46 นิตยสาร สสวท.ิ ต บรรณานุกรม Fishback, L. (2021). Best way to boil water. Retrieved March 07, 2021, from https://www.plotwatt.com/best-way-boil-water/. Schwartz, J., & Root, T. (2019, May 29). One thing you can Do: Boil WATER EFFICIENTLY. Retrieved March 07, 2021, from https://www.nytimes.com/2019/05/29/climate/nyt-climate-newsletter.html. ณปภัช พิมพ์ดี. (2560). เคมีสีเขียว (Green Chemistry). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564, จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/ item/7167-green-chemistry. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่่ักเรียนเลือกมาทำการทดลองมีความหลากหลาย เช่น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า กาต้มน้ำไฟฟ้า หม้อหุงข้าว เตาไฟฟ้าเหนี่ยวนำ หม้อต้มไฟฟ้า เป็นต้น นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้วิธีการทดลองที่แตกต่างกันทำให้การนำเสนอมีความน่าสนใจ มากกว่าการทีุ่่กกลุ่มทำการทดลองด้วยวิธีการเหมือนกันทั้งหมด ผลการทดลองพบว่า กระติกน้ำร้อนไฟฟ้ามีประสิทธิภาพการใช้ พลังงานสูงสุด สอดคล้องกับข้อมูลจากฉลากประหยัดพลังงานที่ระบุประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ 95% แต่ทั้งนี้ผลการทดลอง ของบางกลุ่มได้ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเพียงแค่ 30% การศึกษา ตัวแปรปริมาตรของน้ำ และการวิเคราะห์แนวโน้มข้อมูลรวมของห้องพบว่า การใช้ปริมาตรน้ำ น้อยกว่าขีดกำหนดปริมาตรน้ำในกระติกน้ำร้อนแต่ละรุ่นจะทำให้มีค่าประสิทธิภาพการใช้ พลังงานต่ำ เนื่องจากมีการสูญเสียพลังงานจากพื้นผิวของแผ่นโลหะให้ความร้อนส่วนที่ ไม่สัมผัสกับน้ำ ในทางกลับกันพบว่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเตาไมโครเวฟ จะมีค่าลดลงเมื่อใช้ปริมาตรน้ำมากขึ้น หลักการทำงานของเตาไมโครเวฟ คือการใช้คลื่นไมโครเวฟเพื่อทำให้เกิดการหมุนของโมเลกุลมีขั้ว ปัจจัย แทรก้ อนที่สำคัญของการต้มน้ำด้วยเตาไมโครเวฟคือ การสูญเสียพลังงาน ให้กับภาชนะที่สามารถดูดกลืนคลื่นไมโครเวฟ และรูปทรงของภาชนะบรรจุ นักเรียนสามารถทำการทดลองที่หลากหลายเพื่อศึกษาการให้ความร้อนด้วย เตาไมโครเวฟ เช่น การเปรียบเทียบการต้มน้ำปริมาตรเท่ากันในแก้วเ รามิค และภาชนะพลาสติกที่ใช้กับไมโครเวฟได้หรือรูปทรงของภาชนะที่่่างกัน การสรุปบทเรียนด้วยคำถาม “ถ้านักเรียนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด นักเรียนจะเลือกวิธีการใดในการต้มน้ำ เมื่อนักเรียนต้องการใช้น้ำร้อน 1 แก้ว” เป็นการเปิดประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ใช้ ถึงแม้ว่ากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า จะมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุด แต่การเสียบปลั� กทิ้งไว้ทั้งวัน หรือการใช้กระติกน้ำร้อนขนาดใหญ่เพื่อต้มน้ำเพียงหนึ่งแก้ว ก็ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานเช่นกัน ภา 3 ผลการทดลองรวมของทุกกลุ่ม นำเสนอโดยใช้ Google Data Studio

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1