นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 233 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564
14 นิตยสาร สสวท.ิ ต ในยุคที่่� ผ คนนิยมรับข่าวสารผ่านช่องทางสังคมออนไลน์ ท่านใช้สังคมออนไลน์ใดบ้้าง และท่านได้้นำสิ่งที่ได้้ จากสังคมออนไลน์มาใช้ประโยชน์บ้างหรือไม่ อย่างไร มั่นใจว่าน่าจะมีเฟซบุ๊๊� ก (Facebook) อยู่ในคำตอบของหลายๆ ท่าน และนอกจากเฟซบุ๊๊� กส่วนตัวแล้ว ท่านก็น่าจะมี การเข้าไปรวมกลุ่มเป็นสมาชิกอยู่ตามเพจต่างๆ (Facebook Page) หรือกลุ่มเฟซบุ๊๊� ก (Facebook Group) ตามความสนใจส่วนตัว และอาจนำเรื่องราวหรือข้อมูลต่างๆ ในกลุ่มเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์แตกต่างกัน ผู้เขียนก็เช่นกันที่เข้าไปร่วมกลุ่มต่างๆ ในเฟซบุ๊๊� ก ตามสิ่งที่สนใจ แล้วเคยกันไหมที่่ักจะพบกับคำถามหรือแม้แต่แนวคิดคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์จากสมาชิกในกลุ่มเหล่านั้น นี่่ือสิ่งที่จะนำมาแลกเปลี่ยนในบทความนี้ เนื่องจากคำถามส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งใกล้ตัว และพบเจอได้จริงในชีวิตประจำวัน และถ้าสังเกตจะพบว่ามีสมาชิกในกลุ่มมาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือตอบคำถามเหล่านั้นด้วย ซึ่่� งถ้าท่านเป็นครูหรือผู้ปกครอง สามารถหยิบยกคำถามและความคิดเห็นเหล่านั้นมาพูดคุยกับนักเรียนหรือเด็กในความปกครอง ของท่านได้ ในบทความนี้ จึงจะยกตัวอย่างคำถามที่พบจากกลุ่มในเฟซบุ๊๊� ก มาแลกเปลี่ยนกับผู้้่านว่าสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง และทำได้อย่างไร รอบร้� วิทย์์ ดร.เสาวลักษณ์ บัวอิน • นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. • e-mail: sabua@ipst.ac.th การนำำ �คำำ �ถามที่่� พบจากสััง มออ ไลน์์ มาใช้้ใ การจัดการเรียนรู้� วิิ ยาศา ตร์ คำำ �ถามจากสััง มออ ไลน์์กับการจัดการเรียนรู้� วิิ ยาศา ตร์ การนำคำถามหรือแนวคิดคลาดเคลื่อนจากสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก หลายท่านคงคุ้นเคยกับการจัดการเรียนรู้แบบที่สอดคล้องกับการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) กันแล้ว ซึ่่� งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและกระบวนการคิดที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เป็นการช่วยพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน (สสวท., 2550, Gholam, 2019) โดยการสืบเสาะ หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ (สสวท., 2562) ได้แก่ 1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประเด็นคำถาม 2. ผู้เรียนให้ความสำคัญกับข้อมูลหลักฐานในการอธิบายและประเมินคำอธิบายหรือคำตอบ 3. ผู้เรียนอธิบายแนวคิดทางวิทยาศาสตร์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล 4. ผู้เรียนประเมินคำอธิบายของตนกับคำอธิบายอื่น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ 5. สื่อสารการค้นพบของตนให้ผู้้�อ นเข้าใจ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1