นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 233 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564

15 ปีที่ 50 ฉบับที่ 233 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564ี ที่ ั บี่ ิ กั น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นักการศึกษาจึงได้เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ หลายรูปแบบ ตัวอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนรู้้�ท ีีการนำไปใช้อย่างแพร่แหลาย ได้แก่ วัฏจัักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5E Learning Cycle) ที่เสนอโดย Biological Sciences Curriculum Study; BSCS ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่่� งวัฏจัักรการเรียนรู้้�น ประกอบด้วย ขั้นสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นสำรวจและค้นหา (Explore) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explain) ขั้นขยายความรู้ (Elaborate) และ ขั้นประเมินความรู้ (Evaluate) ดังภาพ 1 (Bybee et al. (2006) ภาพ 1 วัฏจัักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น ประเมิ ามร้� (Evaluate) ขยาย ามร้� (Elaborate) สร้้าง าม ใจ (Engage) อธิิบายและลงข้อสรุุป (Explain) สำำ �ร จและค้้ หา (Explore) จากรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจัักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นนี้ โดยประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า บางครั้ง การเริ่มต้นบทเรียนให้น่าสนใจ หรือสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน หรือสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวนั้น เป็นสิ่งที่่้าทายสำหรับผู้สอน เนื่องจากบางเนื้อหาไม่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันของผู้สอนเอง หรือการเริ่มจากคำถามของผู้เรียนเองนั้นก็อาจมีข้อจำกัด ในเนื้อหาที่เป็นเรื่องใหม่หรือเรื่องที่เพิ่งพบเจอเป็นครั้งแรก ดังนั้น ในขั้นสร้างความสนใจ (Engage) จึงเป็นขั้นที่เหมาะสม สำหรับการนำคำถาม หรือแนวคิดคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่พบได้จากสังคมออนไลน์มาใช้ โดยที่่�ผ สอนสามารถนำมาเชื่อมโยง กับประสบการณ์ของผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การกำหนดขอบเขตประเด็นที่สนใจจะศึกษา หรือหัวข้อเนื้อหาที่กำลังจะสอนได้ นอกจากนี้ ความน่าสนใจของคำถามที่พบจากสังคมออนไลน์นั้น ยังมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินความรู้้ีกด้วย เนื่องจากคำถามที่พบอาจเชื่อมโยงกับชีวิตจริง ความรู้หรือคำตอบที่ได้จากการสืบเสาะจึงสามารถ นำมาต่อยอดได้ในการขยายความรู้ของผู้เรียนนั่นเอง และหลายท่านอาจสังเกตได้ว่าเมื่อมีผู้ถามคำถามก็จะมีหลายๆ คนมาร่วม แสดงความคิดเห็น ความคิดเห็นเหล่านี้้�น นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในขั้นประเมินความรู้ โดยให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ว่า ความคิดเห็นเหล่านั้น ถูกต้องหรือชัดเจนแล้วหรือไม่นั่นเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1