นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 233 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564
18 นิตยสาร สสวท.ิ ต จากความคิดเห็นนี้ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หรืออาจใช้คำถามว่า ผู้เรียนเห็นด้วย กับความคิดเห็นดังกล่าวหรือไม่ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้หลักฐานจากการสืบเสาะมาอธิบายโดยให้เหตุผลประกอบ จากนั้น ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายว่า เพราะเหตุใดดอกเพศเมียจึงติดผลได้ และเพราะเหตุใดดอกตัวผู้ (ดอกเพศผู้) จึงไม่ติดผล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้้ึกซึ้้� งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นนั่นเอง ถ้าผู้เรียนมีความเข้าใจที่่ึกซึ้้� ง อาจต่อยอดไปถึงความสนใจถึงอาชีพในอนาคตได้ เช่น การเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ ขั� ประเมิ ามร้� (Evaluate) การประเมินความรู้เป็นขั้นสำคัญที่ทำให้ผู้สอนรู้้่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ หรือยังมีแนวคิด คลาดเคลื่อนใดที่่้องช่วยเหลือแก้ไขอีกบ้าง ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการประเมินที่สามารถทำได้จากการนำความคิดเห็นที่พบในเพจของคำถามเรื่อง การเลือกปลูกมะละกอมาใช้ ซึ่่� งพบว่ามีความคิดเห็นต่อคำถามนี้หลากหลาย ผู้สอนสามารถยกเอาความคิดเห็นเหล่านี้ มาให้ผู้เรียนฝึกวิเคราะห์ได้ว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยอาจนำมาสร้างเป็นข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพื่อประเมิน การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบเชิง้ อน หรือข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย โดยนำความคิดเห็น ที่พบในเพจมาปรับให้เป็นตัวเลือก หรือเป็นสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และตัดสินใจ รวมทั้งให้เหตุผล ขอยกตัวอย่างการนำความคิดเห็นบางส่วนที่ได้จากเพจมาสร้างเป็นข้อสอบ ดังภาพ 4 และ 5 ก. ภาพ 3 ตัวอย่างความคิดเห็นจากเฟซบุ๊๊� กเพจ การขยายความรู้ของผู้เรียนสามารถทำได้โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตั้งประเด็นข้อสงสัยเพิ่มเติมจากคำถามนี้ หรือผู้สอนเองอาจจัดสถานการณ์เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เช่น การต่อยอดไปสู่การอธิบายการสืบพันธุ์ ของพืชดอกชนิดอื่นๆ ที่่ีลักษณะของดอกที่เหมือนและแตกต่างจากมะละกอที่่�ผ เรียนรู้้ักหรือเคยพบเห็น หรืออาจขยาย ขอบเขตความรู้ไปสู่การทดลองปลูกมะละกอที่่ีดอกลักษณะต่างๆ เพื่อทดสอบข้อสรุป หรือนำความคิดเห็นในเพจ มาพิจารณาและอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อต่อยอดความรู้ ดังเช่นความคิดเห็นนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1