นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 233 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564

43 ปีที่ 50 ฉบับที่ 233 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2564ี ที่ ั บี่ ิ กั น การพิิจารณาสาระสำ �คััญของปััญหา (Abstraction)ิ ำัั การออกแั ลกอริทึึม (Algorithm)ัิึ 3 4 หลังจากที่สนทนาถึงรูปแบบของ วิธีการทำเมนูดอกอัญชันแต่ละเมนูแล้ว ครูกระตุ้นให้เด็กร่วมกันพิจารณาถึงส่วนผสม ที่แตกต่างกันของแต่ละสูตร ซึ่่� งนำไปสู่ การลงข้อสรุปถึงส่วนผสมหลักที่สำคัญ ครูกระตุ้นให้เด็กแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์จุ เด่่น หรือลักษณะเฉพาะของเมนู ที่กลุ่มตนเลือก โดยคัดเฉพาะขั้นตอนรวมทั้งวัตถุดิบและ อุปกรณ์ที่จำเป็น จากนั้นแต่ละกลุ่มร่วมกัน วาดภาพและบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อกำหนด สัดส่วนของวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่จำเป็น ของกลุ่มตนเอง เช่น กลุ่มอัญชันชุปแป้งทอด พิจารณาสาระสำคัญของเมนูว่ามีวัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องเตรียม ได้แก่ กระทะ ตะหลิว น้ำมัน เตาแก๊ส ถ้วย ช้อน แป้งทอด กรอบ น้ำเปล่า และดอกอัญชัน นอกจากนี้ เด็กๆ ยังได้ทำแผนภาพแสดงอุปกรณ์ที่จำเป็น ในการทำเมนูต่างๆ เมื่อเด็กๆ แต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณาและระบุสาระสำคัญ ของการทำอาหารจากดอกอัญชันแต่ละเมนูโดยร่วมกันออกแบบ สัดส่วนของวัตถุดิบ รวมถึงอุปกรณ์ในแต่ละเมนูแล้ว ครูให้เด็กๆ ร่วมกันวางแผนการทำงานและการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยใช้ภาษาทั้งในรูปแบบของภาพวาด การเขียนคำ สัญลักษณ์ และ การบอกเล่า เพื่อนำเสนอและสื่อสารให้เพื่อนกลุ่มอื่นและครูทราบ กระบวนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอน สุดท้าย ก่อนที่จะให้เด็กๆ ได้ลงมือทำเมนูดังกล่าวจริงในชั้นเรียน ซึ่่� งในระหว่างที่เด็กลงมือทำ ครูเปิดโอกาสให้เด็กบอกปัญหาที่พบ หรือความต้องการที่เกิดขึ้น เช่น ใส่น้ำมากไป ต้องการแป้งเพิ่มขึ้น จากที่วางแผน ครูกระตุ้นให้เด็กหาแนวทางการแก้ปัญหาหรือ ปรับเปลี่ยนวิธีการ โดยครูคอยช่วยเหลือ เมื่อเด็กแต่ละกลุ่มลงมือทำ เมนูดอกอัญชันของกลุ่มตนเองเสร็จ ครูให้เด็กแต่ละกลุ่ม นำเสนอ กระบวนการทำเมนู อกอัญชันอย่างเป็นลำดัับขั� นตอน และ เล่าถึงปัญหาที่พบและวิธีแก้ปัญหาของกลุ่มตนเองให้เพื่อนฟัง

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQ5Njg1