นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236

ปีที่ 50 ฉบับที่ 236 พฤษภาคม - มิถุนายน 2565 11 วิ ชาเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสสารและพลังงานทั้ง ในระดับมหภาคและระดับจุลภาค โดยบางเนื้อหาอาจเป็นนามธรรม และซับซ้อนซึ่งเป็นการยากที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้งและสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมีเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิด เกี่ยวกับอะตอมและโมเลกุลรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสาร แนวทางหนึ่ง ที่เป็นที่ยอมรับคือการส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงแนวคิดทางเคมี 3 ระดับ ตามแนวคิดของ Jonhstone (2006) คือ ระดับมหภาค (Macroscopic) ระดับจุลภาค (Sub-microscopic) และระดับสัญลักษณ์ (Representational) ดังแสดงในภาพ 1 ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ครูอาจมีบทบาทคอยช่วยเหลือให้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry- Based Learning) ได้ บทความนี้จะขอเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่องแบบจำ�ลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียน โดยการเชื่อมโยงแนวคิดทางเคมี 3 ระดับ และประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน ในการสร้างและนำ�เสนอแบบจำ�ลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนด้วย อะตอม โมเลกุล และไอออน สัญลักษณ์ สูตรเคมี และสมการ สมบัติและการเปลี่ยนแปลง ของสารที่สามารถสังเกตได้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องแบบจำ�ลอง การเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันในการสร้างแบบจำ�ลอง เพื่อแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบเคลื่อนไหวสำ�หรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 3 ชั่วโมง มีรายการ วัสดุและอุปกรณ์ประกอบการทำ�กิจกรรมดังภาพ 2 และใช้วัฏจักรการ สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน (สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560) ดังภาพ 3 มีรายละเอียดดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมในคำ�ถาม เป็นขั้นที่นักเรียนมีส่วนร่วมในประเด็น คำ�ถามที่นำ�ไปสู่การสืบเสาะค้นหาและรวบรวมข้อมูลหลักฐาน ในกิจกรรมนี้ครูสร้างความสนใจและกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ด้วยการเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือเเอนิเมชันที่เกี่ยวกับ ภาพ 1 การเชื่อมโยงแนวคิดทางเคมี 3 ระดับตามแนวคิดของ Jonhstone (2006) การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารเพื่อตรวจสอบความรู้เดิมและกระตุ้นให้ นักเรียนเกิดคำ�ถามและกำ�หนดประเด็นที่จะศึกษาร่วมกัน โดยครูอาจถาม นักเรียนดังนี้ จากวีดิทัศน์ นักเรียนคิดว่ามีการเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ ทราบได้อย่างไร สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยานี้คือสารใดบ้าง อะตอมและโมเลกุล แตกต่างกันอย่างไร ในปฏิกิริยาเคมี อะตอมสามารถเกิดขึ้นใหม่หรือสูญหาย หรือไม่ ทราบได้อย่างไร ก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาเคมี อะตอมต่างๆ มีจำ�นวน เท่ากันหรือไม่ อย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5