นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236
14 นิตยสาร สสวท.ิ ต ตัวอย่างการบันทึกผลของนักเรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีระหว่าง แก๊สไฮโดรเจนกับแก๊สออกซิเจน ดังแสดงในภาพ 5 โดยครูจะต้องแจ้ง นักเรียนก่อนทำ�กิจกรรมว่าจะต้องประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันในการสร้าง วีดิทัศน์หรือเเอนิเมชันเพื่อให้เห็นภาพเคลื่อนไหวแสดงการเกิดปฏิกิริยา เคมี โดยแต่ละกลุ่มจะมีอิสระในการเลือกแอปพลิเคชันที่นักเรียนรู้จัก ตามความถนัด ทั้งนี้ครูอาจแนะนำ� “Stop Motion Studio” ซึ่งเป็น แอปพลิเคชันในการสร้างภาพเคลื่อนไหวของวัตถุ โดยสามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชันนี้ได้ทั้งในระบบ Android และระบบ iOS เพื่อใช้ในการออกแบบ และสร้างชิ้นงานเป็นภาพเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจด้วยการ ใส่ข้อความ เพลง หรือดนตรีประกอบเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านเนื้อหาและความความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น โดยระหว่างการ จัดกิจกรรมครูควรคอยให้คำ�ปรึกษา แนะนำ� และเป็นผู้อำ�นวยความสะดวก (Facilitator) ในด้านต่างๆ อาทิ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำ�กิจกรรม การสืบค้นข้อมูล ตลอดจนแนะนำ�เว็ปไซต์วิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ เน้นให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและนำ�ความรู้ด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานได้ด้วยตนเอง 3. การอธิบายสิ่งที่พบ เป็นขั้นที่นักเรียนอธิบายแนวคิดทาง วิทยาศาสตร์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยเหตุผล สามารถจำ�แนก วิเคราะห์ แปลผล และลงข้อสรุปได้ ในกิจกรรมนี้นักเรียนได้สร้างแบบจำ�ลองของปฏิกิริยาเคมี ในระดับจุลภาคที่สอดคล้องกับแบบจำ�ลองในระดับสัญลักษณ์ที่แสดงในภาพ สมการเคมีเพื่ออธิบายว่าอะตอมต่างๆ ก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีจำ�นวนเท่ากันหรือไม่ อย่างไร โดยให้นักเรียนนำ�เสนอผลการทำ�กิจกรรม จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน และปฏิกิริยา เผาไหม้ของแก๊สมีเทนพบว่า นักเรียนสามารถอธิบายแนวคิดได้ดังตัวอย่าง ภาพ 4 และภาพ 5 โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจ แนวคิดโดยการตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรมซึ่งให้นักเรียนพิจารณาสมการเคมี แล้วเติมจำ�นวนอะตอมของธาตุแต่ละชนิดที่เป็นสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ ดังแสดงในภาพ 6 พบว่าจำ�นวนอะตอมรวมของธาตุแต่ละชนิดก่อนเกิด ภาพ 5 ตัวอย่างการบันทึกผลของนักเรียน ปฏิกิริยา (สารตั้งต้น) เท่ากับจำ�นวนอะตอมรวมของธาตุแต่ละชนิดหลังเกิด ปฏิกิริยา (สารผลิตภัณฑ์) เช่น ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของโพรเพน (C 3 H 8 ) พบว่ามีจำ�นวนอะตอมของสารตั้งต้นประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O) เท่ากับ 3, 8 และ 10 ตามลำ�ดับ มีจำ�นวนอะตอมรวมทั้งหมดเท่ากับ 21 อะตอม และจำ�นวนอะตอมของ สารผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และ ออกซิเจน (O) เท่ากับ 3, 8 และ 10 ตามลำ�ดับ มีจำ�นวนอะตอมรวม ทั้งหมดเท่ากับ 21 อะตอม จะพบว่าจำ�นวนอะตอมแต่ละชนิดและจำ�นวน อะตอมรวมของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์มีจำ�นวนเท่ากัน ซึ่งนักเรียน สามารถสรุปได้ว่า “อะตอมต่างๆ ก่อนเกิดปฏิกิริยาเคมี มีจำ�นวนเท่ากับ อะตอมต่างๆ หลังเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยอะตอมต่างๆ ก่อนและหลัง การเกิดปฏิกิริยาไม่ได้สูญหายไปไหนแต่มีการจัดเรียงตัวเป็นสารใหม่เรียกว่า การเกิดปฏิกิริยาเคมี”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5