นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236
ปีที่ 50 ฉบับที่ 236 พฤษภาคม - มิถุนายน 2565 15 ภาพ 6 ตัวอย่างคำ�ตอบท้ายกิจกรรมของนักเรียน 4. การเชื่อมโยงสิ่งที่พบกับสิ่งที่ผู้อื่นพบ เป็นขั้นที่นักเรียนประเมิน คำ�อธิบายของตนเองกับคำ�อธิบายอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ สามารถประเมินข้อมูลและหลักฐานต่างๆ เพื่อ ตัดสินใจว่าควรเพิกเฉยหรือนำ�คำ�อธิบายนั้นมาพิจารณาและปรับปรุง คำ�อธิบายของตนเอง สามารถประเมินคำ�อธิบายของเพื่อนหรือแหล่งข้อมูลอื่น แล้วนำ�มาเปรียบเทียบ เชื่อมโยง สัมพันธ์ แล้วสร้างคำ�อธิบายอย่างมีเหตุผล และมีหลักฐานสนับสนุนซึ่งสอดคล้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ การยอมรับ จากกิจกรรมครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันจนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับ การเกิดปฏิกิริยาเคมี และนำ�ความรู้ที่สรุปได้จากกิจกรรมนี้ไปเชื่อมโยงหรือ ใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่ทำ�ให้นักเรียนเกิดการขยาย ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น อาทิ ครูยกตัวอย่างสมการเคมีหรือปฏิกิริยาเคมี อื่นๆ ที่พบในชีวิตประจำ�วันและร่วมกันอภิปรายเพื่อขยายความรู้ที่ได้ ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้ 6CO 2 + 12H 2 O C 6 H 12 O 6 + 6O 2 + 6H 2 O 5. การสื่อสารและให้เหตุผล เป็นขั้นที่นักเรียนได้สื่อสารและ นำ�เสนอการค้นพบของตนเองในรูปแบบที่ผู้อื่นเข้าใจและสามารถ ทำ�ตามได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ซักและตอบคำ�ถาม ตรวจสอบข้อมูล ให้เหตุผล วิจารณ์และรับคำ�วิจารณ์และได้แนวคิดหรือมุมมองอื่นในการอธิบาย และปรับปรุง นักเรียนจะต้องสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเองเกิด องค์ความรู้และทักษะอะไรบ้าง และจะนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร จากกิจกรรมพบว่านักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้จากการ ปฏิบัติด้วยตนเองว่า “ก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาอะตอมต่างๆ ไม่ได้ สูญหายไปไหนแต่มีการจัดเรียงตัวเป็นสารใหม่เรียกว่าการเกิดปฏิกิริยา เคมี” นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันเพื่อ นำ�เสนอผลงานภาพการเคลื่อนไหวการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยแต่ละกลุ่ม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะกับเพื่อนกลุ่มอื่น ซึ่งสามารถส่งเสริมทักษะการสื่อสารของนักเรียนได้ (ชมตัวอย่างผลงาน ด้วยการสแกน QR Code ในภาพ 4) แนวทางการวัดและการประเมินผล การประเมินผลการเรียนรู้จากการทำ�กิจกรรมการสืบเสาะ หาความรู้เรื่องแบบจำ�ลองการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ และกระบวนการ (P) และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) มีแนวทาง การประเมิน ดังแสดงในตาราง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5