นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236

16 นิตยสาร สสวท. จากการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วยการสร้างแบบจำ�ลองการเกิด ปฏิกิริยาเคมี โดยนักเรียนสามารถวางแผนและแบ่งงานกันรับผิดชอบ ภายในกลุ่มทำ�ให้ชิ้นงานเสร็จภายในเวลาที่กำ�หนดซึ่งสามารถส่งเสริม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้ นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถ สืบค้นข้อมูล ใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบและสร้างชิ้นงานได้อย่าง สร้างสรรค์ ตลอดจนนำ�เสนอและสื่อสารแบบจำ�ลองการเกิดปฏิกิริยาเคมี แบบเคลื่อนไหวในกลุ่มของตนเองให้เพื่อนๆ ในชั้นเรียนได้ เป็นการส่งเสริม ให้นักเรียนเกิดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็น ทักษะหนึ่งที่สำ�คัญในศตวรรษที่ 21 สรุปผลแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อให้นักเรียน เข้าใจแนวคิดว่าก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาเคมีอะตอมต่างๆ มีจำ�นวน เท่ากันหรือไม่ อย่างไร สามารถทำ�ได้โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนเห็นความ เชื่อมโยงแนวคิดทางเคมี 3 ระดับตามแนวคิดของ Jonhstone (2006) ได้แก่ ระดับมหภาค (การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสาร) ระดับจุลภาค (อะตอม และโมเลกุล) และระดับสัญลักษณ์ (สูตรเคมีและสมการเคมี) ซึ่งทำ�ให้ นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ เช่น การสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีและนำ�ไปสู่การ สร้างคำ�อธิบายโดยใช้แบบจำ�ลองในระดับจุลภาคโดยใช้ขนมมาร์ชเมลโล่ และเชื่อมโยงไปยังการสร้างแบบจำ�ลองเพื่ออธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี ในระดับสัญลักษณ์โดยใช้สมการเคมี ซึ่งพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น ให้นักเรียนได้เห็นความเชื่อมโยงของแนวคิดทางเคมีทั้ง 3 ระดับนี้ช่วยส่งเสริม ให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ว่า “ก่อนเกิด ปฏิกิริยาเคมีอะตอมต่างๆ มีจำ�นวนเท่ากับอะตอมต่างๆ หลังเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยาอะตอมต่างๆ ไม่ได้สูญหายไปไหนแต่ มีการจัดเรียงตัวเป็นสารใหม่เรียกว่าการเกิดปฏิกิริยาเคมี” นอกจากนี้ จาก การสังเกตพบว่า นักเรียนมีความสนใจ กระตือรือร้น และสนุกกับกิจกรรม ที่ได้ทำ�งานร่วมกันเป็นทีม ได้วางแผนทำ�งานร่วมกันอย่างเป็นขั้นตอน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับเพื่อนๆ และสามารถใช้แอปพลิเคชัน ในการสร้างชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ซึ่งสามารถส่งเสริมทักษะที่สำ�คัญ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนได้ จากแนวทางการจัดกิจกรรมครูสามารถ นำ�ไปปรับใช้ในการสร้างแนวคิดหรือองค์ความรู้ที่เป็นนามธรรมได้ Cairns, D. (2019). Investigating the Relationship between Instructional Practices and Science Achievement in an Inquiry-Based Learning Environment. International Journal of Science Education, 41 (15): 2113-2135. Johnstone, A. H. (2006). Chemical Education Research in Glasgow in Perspective. Chemistry Education Research and Practice, 7 (2): 49-63. National Research Council. (2000). Inquiry and the National Science Education Standards: a guide for teaching and learning. Washington, D.C.: National Academy Press. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก https://www.scimath.org/ebook-science/item/8923-2018-10-01-01-59-16. สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค. บรรณานุกรม ด้าน ความรู้ (K) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ใบบันทึกกิจกรรม คะแนนร้อยละ 60 ขึ้นไป ทักษะการนำ�เสนอชิ้นงานโดยใช้แอปพลิเคชัน แบบประเมินการนำ�เสนอ ชิ้นงาน ระดับดีขึ้นไป ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ และทำ�งานเสร็จภายในเวลาที่กำ�หนด แบบสังเกตพฤติกรรม ระดับดีขึ้นไป ทักษะและกระบวนการ (P) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) เครื่องมือ เกณฑ์ ตาราง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5