นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236
38 นิตยสาร สสวท. ดร.เจนจิรา ทิพย์ญาณ ครู คศ.2 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 e-mail: tipyan.j@gmail.com ขยายแนวคิดจากโจทย์ปัญหาท้ายบทเรียน สู่โครงงานคณิตศาสตร์น้อย (Mathematics Mini Project) จากการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ระบาด เป็นปัญหาใหญ่สำ�หรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ และเกิดทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งครูผู้สอนต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยต้องพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการคิดขั้นสูง และการคิด อย่างมีระบบ สามารถนำ�ข้อมูลที่ได้รับมาสร้างองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ หรือตัดสินใจในสถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้อย่างมีเหตุผล ก ารที่จะพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนได้นั้นต้องสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดขั้นสูงก่อน ซึ่งทักษะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking Skills) เป็นการคิดที่ผสมผสาน ทักษะการคิดหลายๆ ประการมารวมกันเพื่อทำ�ให้เกิดการคิดที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วยการคิดหลายประเภท เช่น การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิด สร้างสรรค์ (Creative Thinking) การแก้ปัญหา (Problem Solving) เมื่อพิจารณาประเภทของทักษะการคิดขั้นสูงแล้ว พบว่านักเรียนที่โรงเรียน สุราษฎร์ธานี 2 ที่ผู้เขียนได้ทำ�การสอนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีทักษะการใช้ ความคิดขั้นสูงที่เน้นการนำ�ไปใช้ การคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้เขียนในฐานะผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์จึงออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ โดยขยายแนวคิดจากโจทย์ปัญหาท้ายบทเรียนเรื่อง อนุกรมอนันต์ ในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 เล่ม 1 หน้า 70 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง โดยโจทย์ปัญหาและ คำ�ถามดังนี้ “ถ้าลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดกึ่งกลางด้านของรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสจะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังภาพ 1 ภาพ 1 รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5