นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236

ปีที่ 50 ฉบับที่ 236 พฤษภาคม - มิถุนายน 2565 41 น้ำ�ทิพย์ วิมูลชาติ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำ�โครงงานคณิตศาสตร์ สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9 (2). (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559): 787-800. วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2561). MESUK MODEL (มีสุขโมเดล) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์สู่วิถีชีวิตประจำ�วัน อย่างมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ห นังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. บรรณานุกรม สรุปผลการทำ�กิจกรรมโจทย์ปัญหา 1. นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหาความรู้ที่ต้องใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา ด้วยตนเอง 2. การแบ่งกลุ่มในการเรียนรู้ทำ�ให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก มากกว่าการคิดคนเดียว 3. นักเรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการนำ�เสนอ เช่น Canva Goodnotes Google Slides 4. โจทย์ปัญหาที่มีรูปเรขาคณิตเหมือนกัน นักเรียนสามารถใช้ วิธีคิดที่หลากหลายในการหาความยาวด้านของรูปเรขาคณิต เช่น ทฤษฎีบท พีทาโกรัส สามเหลี่ยมคล้ายกฎของไซน์และโคไซน์ 5. นักเรียนบางคนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างการใช้ สูตรการหาผลบวกของอนุกรมจำ�กัดและการหาผลบวกของอนุกรมอนันต์ 6. หลังจากนักเรียนได้ทำ�งานร่วมกันในการแก้โจทย์ปัญหา พบว่า เ มื่ อครูตั้ งโ จทย์ปัญหาปลาย เ ปิดโดยปรับจากโ จทย์ปัญหา เ ดิม ขึ้นมาใหม่ แต่ยังคงใช้แนวคิดในการแก้ปัญหาเดียวกัน นักเรียนส่วนใหญ่ สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้มากขึ้น ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป ครูสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เรื่องอื่นๆ โดยขยายแนวคิดจากโจทย์ปัญหาท้ายบทเรียนในหนังสือเรียนรายวิชา เพิ่มเติมคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1 และเล่ม 2 กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จากแนวทางในการ จัดการเรียนการสอนข้างต้นซึ่งเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่ผู้เขียนได้ทดลอง จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง โดยใช้โครงงานคณิตศาสตร์น้อย (Mathematics Mini Project) ที่ขยายแนวคิดมาจากโจทย์ปัญหาท้ายบท ในหนังสือเรียน ซึ่งการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานคณิตศาสตร์เป็นการฝึก ให้นักเรียนทำ�งานเป็นทีม รู้จักวิธีการระดมสมองเพื่อช่วยกันหาแนวทาง แก้ปัญหาและศึกษาหาความรู้ การทำ�กิจกรรมโดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม (Group Processing) จะช่วยปลูกฝังให้นักเรียนมีความรับผิดชอบและ สามารถทำ�งานร่วมกับผู้อื่นได้ ส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และฝึกทักษะ/ กระบวนการได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็น ประโยชน์กับผู้อ่าน และสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการจัดการเรียน การสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5