นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236

ปีที่ 50 ฉบับที่ 236 พฤษภาคม - มิถุนายน 2565 43 การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการชุมชนเข้ากับการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน ทำ�ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านสถานการณ์การณ์จริงที่เกิดขึ้นในชุมชนและ สามารถนำ�ความรู้ในห้องเรียนไปช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้ (วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์, 2561; Andrade, Workman, and Westover, 2021; Ibrahim, 2010) ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์กับการประมงของ โรงเรียนบ้านหัวถนน จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน ประมาณ 150 คน พื้นที่โดยรอบของโรงเรียนติดทะเล ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน นักเรียนจำ�นวนไม่น้อยที่จบการศึกษาจาก โรงเรียนไปแล้วและไม่ได้ศึกษาต่อมักจะไปประกอบอาชีพประมงเช่นเดียวกับ ผู้ปกครอง ส่งผลให้นักเรียนไม่ค่อยให้ความสนใจกับการเรียนเนื้อหา คณิตศาสตร์ จากบริบทดังกล่าวทำ�ให้ผู้เขียนมีแนวคิดที่จะนำ�เรื่อง การประมงมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนคณิตศาสตร์ โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาว่าสาระความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องใดบ้าง ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริบทของการทำ�ประมงพื้นบ้าน และสามารถ มีส่วนช่วยให้การทำ�ประมงเกิดประสิทธิผลดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอน การวางแผน การแก้ปัญหาในการทำ�ประมงหรือการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำ�ประมง โดยเลือกเนื้อหารายวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มาสร้างเป็นหน่วยการเรียนรู้ “คณิตศาสตร์กับการประมง (Mathematics in Fishery)” หน่วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับการประมงนี้ ผู้เขียนได้ออกแบบ เนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีการทำ�ประมงพื้นบ้าน เดินเรื่องบทเรียนโดย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทำ�ประมง ระยะระหว่างการทำ� ประมง และระยะหลังการทำ�ประมง ใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 6 คาบเรียน คาบเรียนละ 60 นาที โดยมีการเชื่อมโยงกับสาระความรู้ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การนำ�เสนอข้อมูล แบบรูปและความสัมพันธ์ ร้อยละของจำ�นวนนับ การประมาณค่า การวัดความยาว การหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต และร้อยละ ของกำ�ไรขาดทุน กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละคาบเรียน มีรายละเอียด แสดงดังในแผนภาพ Mapping Unit Plan ของแนวคิดการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ผ่านชีวิตจริง ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. การบูรณาการเนื้อหาคณิตศาสตร์เข้ากับบริบทในชีวิตจริง เป็นการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในบริบทของผู้เรียนมาใช้เป็นฐานในการ จัดการเรียนรู้ 2. การใช้แบบจำ�ลองทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหา โดยแบบจำ�ลองจะเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่ไม่เป็นทางการและ ความรู้ที่เป็นทางการ 3. การใช้ผลงานของนักเรียน โดยนักเรียนสามารถสร้างสื่อการ เรียนรู้ด้วยตนเองและแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการของตนเอง 4. การใช้กิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อาจจะเป็นกิจกรรม ที่มีการโต้ตอบระหว่างครูกับนักเรียนหรือนักเรียนกับนักเรียน 5. การเชื่อมโยงระหว่างความรู้ในสาระต่างๆ ของคณิตศาสตร์ จากข้อสรุปข้างต้นจะเห็นได้ว่าลักษณะพื้นฐานของแนวคิด การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านชีวิตจริงมีลักษณะเป็นการบูรณาการ สถานการณ์ที่เป็นปัญหาในโลกแห่งความจริงที่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียน เข้ากับความรู้ทางคณิตศาตร์ โดยใช้สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเหล่านั้น มาเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้เพื่อที่นักเรียนจะได้ฝึกเชื่อมโยงองค์ความรู้ กับสถานการณ์ปัญหาร่วมกัน วางแผนแก้ปัญหา จนกระทั่งนำ�ไปสู่การ แก้ปัญหา แนวทางหนึ่งที่จะช่วยในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์เข้ากับชีวิตจริง อาจทำ�ได้โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านสถานการณ์ปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับบริบทในชุมชนของนักเรียน และนำ�ความรู้ในห้องเรียนไปใช้ ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based Learning) อันเป็นรูปแบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5