นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236
ปีที่ 50 ฉบับที่ 236 พฤษภาคม - มิถุนายน 2565 53 น ายอาทิตย์ ฉิมกุล หรือ ครูอาร์ตี้ เป็นครูในโครงการส่งเสริม การผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ของ สสวท. จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันสอนวิชาชีววิทยา ที่โรงเรียน สตรีวิทยา กรุงเทพฯ และได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จากการประกวดสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ โครงการ THE EDUCATORS THAILAND ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 จัดโดย AIS Academy “เป็นคนที่ เวลาทำ�อะไรจะใส่ใจเกินร้อย และทุ่มเท่สุดตัว” ครูอาร์ตี้กล่าวพร้อมทั้งเล่าถึงฉายาที่ได้จากนักเรียนว่า “ครูตัวพ่อ เทคโนโลยี” เนื่องจากเป็นครูที่ใช้เทคโนโลยีอย่างหลากหลายในการสอน ครูอาร์ตี้ชื่นชอบเทคโนโลยีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่งตอนนั้น เกิดแรงบันดาลใจจากการเล่นเกมแล้วชอบภาพกราฟิกในเกม จึงอยากลอง ออกแบบโดยเริ่มศึกษาจาก YouTube ก่อน แล้วค่อยลองผิดลองถูก ปรับปรุง พัฒนาไปเรื่อยๆ “อยากให้มองว่าเทคโนโลยีเป็นเหมือนกับผู้ช่วยฮีโร่และตัวครู เป็นฮีโร่ เหมือนแบทแมนกับโรบิน ตัวครูจะต้องเป็นผู้นำ�ในการจัดการเรียนรู้ และมีเทคโนโลยีเป็นตัวเสริม ซึ่งถ้าหากครูใช้เทคโนโลยีในการสอนอย่างลงตัว จะเป็นสื่อการสอนที่ดีเยี่ยมและผลดีจะไปตกอยู่กับนักเรียน การที่จะศึกษา เทคโนโลยี ให้เปิดใจว่าเขาเป็นเพื่อนที่ดีกับเรา อย่ามองเขาเป็นผู้ร้ายที่ดู เข้าใจยาก ค่อยๆ เริ่มทำ�จากเทคโนโลยีพื้นฐานง่ายๆ ก่อน จึงค่อยก้าวไป ทีละขั้น แล้วเราจะสนุกกับการพัฒนาตนเอง” ในวัย 29 ปี และผ่านอาชีพครูมา 4 ปี ครูอาร์ตี้มีบทบาทเป็นทั้ง นักชีววิทยาและครูที่ชอบทั้งการทำ�งานในห้องแล็ปและชอบถ่ายทอดความรู้ นอกจากนั้น ยังได้จัดทำ�คลิปการศึกษาเผยแพร่ทาง YouTube และรายการ ไลฟ์สด “เล่าสู่ครูฟัง” ทาง Facebook Kruatry โดยเชิญครูเก่งๆ จาก ทั่วประเทศมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเทคนิคการสอนต่างๆ ภายใต้แนวคิด Teacher Showcase นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้และได้รับรางวัลครูสอนดีวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ของ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พร้อมทั้ง เป็นหัวหน้างานวิจัยคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสตรีวิทยา รับผิดชอบ การพัฒนาทักษะทางด้านการวิจัยให้กับครูทั้งโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ�วิจัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะช่วยแก้ไขหรือพัฒนาทักษะ ต่างๆ ให้กับนักเรียน “ก้าวแรกสู่อาชีพครูยังไม่ตรงกับสิ่งที่คิดไว้เลยครับ เพราะตอนแรก คิดว่าครูต้องทำ�หน้าที่ถ่ายทอดเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่พอได้มา เป็นครูแล้ว พบว่าครูต้องทำ�หน้าที่มากกว่านั้น ต้องรับผิดชอบนักเรียนมากกว่า 100 คนในรายวิชาที่สอน ต้องดูแลนักเรียนดั่งบุตรหลาน นอกจากนี้ ยังต้อง ทำ�งานกับคนหลายฝ่ายทั้งผู้บริหาร ผู้ปกครอง เพื่อนครู และอีกหลายภาคส่วน ซึ่งมีความกดดันอย่างมาก แต่ก็มองว่าเป็นความท้าทายที่จะต้องก้าวข้าม ผ่านไปให้ได้ และด้วยความที่เราเป็นครูในโครงการ สควค. ได้ผ่านการ หล่อหลอมความเข้มแข็งมาอยู่แล้ว จึงทำ�ให้สามารถหาทางออกหรือ แก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง” ครูอาร์ตี้เล่าต่อไปว่า ชีววิทยามีเนื้อหาที่เยอะ ยุ่งยาก หรือซับซ้อน ในบางเรื่อง จึงเป็นความท้าทายของครูที่จะต้องออกแบบกลยุทธ์การสอน ให้สนุก และรู้จักเร้าความรู้สึกของนักเรียนให้อยากติดตามการเรียนไป จนจบเนื้อหา โดยช่วงแรกที่ก้าวสู่อาชีพครูยังกังวลอยู่ว่าเมื่อไปสอนแล้ว จะต้องพบเจอกับนักเรียนแบบไหน นักเรียนจะชอบวิธีการสอนของเราหรือไม่ จะสนุกไปกับการสอนของเราหรือเปล่า แต่พอได้มาไตร่ตรองจริงๆ แล้ว ขอเพียงแค่เราตั้งใจทำ�งานด้วยความสุขอย่างตั้งใจ และใส่พลังเกิน 100 นักเรียนน่าจะรับรู้ได้ และบอกตัวเองว่าจงอดทนต่อผลตอบรับที่ทั้งดีและ ไม่ดี นำ�เสียงสะท้อนมาปรับปรุงแก้ไข ก็ทำ�ให้ลดความกังวล และเอาใจไป โฟกัสกับการสอนมากขึ้นได้ โดยครูอาร์ตี้จะนำ�ผลการเรียนรู้ในบทเรียน นั้นๆ เป็นที่ตั้ง แล้วพิจารณาว่าหลังจากที่จบบทเรียนแล้ว นักเรียนจะต้อง ได้อะไร และนำ�ไปออกแบบกลยุทธ์การสอนที่จะผลักดันให้นักเรียนได้ บรรลุผลการเรียนรู้รวมทั้งออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผลที่จะวัด ศักยภาพของนักเรียนได้จริง ด้วยผลงานวิทยานิพนธ์หัวข้อ “ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย” เมื่อครั้ง ศึกษาระดับปริญญาโท ส่งผลให้ครูอาร์ตี้นำ�สะเต็มศึกษาเข้าไปบูรณาการ ในการเรียนการสอนชีววิทยา เพราะมองว่าสะเต็มศึกษาช่วยให้นักเรียนหา วิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องจัดการเรียนการสอน ผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ยังสามารถใช้สะเต็มศึกษาไปปรับใช้ได้ และทักษะ การแก้ปัญหายังคงเป็นหัวใจของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในทุกยุคสมัย ครูอาร์ตี้ยกตัวอย่างการสอนเรื่องระบบร่างกายมนุษย์ อาจจะให้นักเรียน จำ�ลองสถานการณ์ เป็นวิศวกรฝึกหัดที่จะประดิษฐ์เครื่องมืออย่างง่าย สำ�หรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องปอดและหัวใจ โดยจำ�ลองต่อท่อเครื่องมือ บายพาส อาจจะใช้สายยางแทนหลอดเลือด ใช้อุปกรณ์ปั๊มน้ำ�แทนหัวใจ แล้ว ทดลองจับเวลาดูว่าอุปกรณ์ที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นมีประสิทธิภาพเพียงใด หาก ผิดพลาดก็แก้ปัญหาปรับปรุงไปเรื่อยๆ ครูอาจใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียหรือ Facebook Liveในการนำ�เสนอแนวความคิดต่างๆ ก็น่าจะเป็นการเรียน ที่สนุกสนานมากยิ่งขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5