นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236

54 นิตยสาร สสวท. ครูอาร์ตี้เล่าว่า “ชั้นเรียนที่ประทับใจคือนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ผ่าตัดปอดและหัวใจ เพราะสิ่งนั้นทำ�ให้นักเรียนได้มั่นใจมากขึ้นว่าพวกเขา ชอบเรียนชีววิทยาหรืออยากไปศึกษาต่อทางการแพทย์หรือเปล่า การเรียนรู้นี้ ทำ�ให้ภาพฝันของนักเรียนชัดเจนยิ่งขึ้น เราได้เห็นรอยยิ้มของนักเรียนที่มี ความสุขกับการเรียน ทำ�ให้เรามีพลังมากขึ้นที่จะทำ�อาชีพครูต่อไป” สำ�หรับ ชั้นเรียนที่ยังไม่ถือว่าประสบความสำ�เร็จตามความคาดหมายก็มีบ้าง อาจ เกิดจากยังเตรียมตัวมาไม่ดีพอ ทำ�ให้ตอบคำ�ถามนักเรียนไม่ค่อยชัดเจน แต่ก็ได้เติมเต็มช่องโหว่ที่พลาด พัฒนาเทคนิคการสอนใหม่ให้ดียิ่งขึ้น แล้วกลับไปแก้ไขในจุดที่ยังบกพร่องไป ต้องยอมรับว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ในยุคนี้แตกต่างไปจากเดิม อย่างมาก ปัจจุบันนี้มี Metaverse เข้ามา นักเรียนจะได้เข้าไปเรียนรู้ใน โลกเสมือนจริง ได้เรียนรู้ผ่านสื่อ VR และ AR ซึ่งครูเองต้องปรับตัวให้ มากกว่านักเรียน เพราะครูจะต้องออกแบบกลยุทธ์การสอนที่เน้นเทคโนโลยี มากขึ้น นอกจากนี้ ครูต้องมีเทคนิคดึงดูดความสนใจให้นักเรียนอยาก เรียนรู้ในบทเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการเรียนรู้แบบออนไลน์มากขึ้น แต่แน่นอนว่ากล้องจุลทรรศน์ก็ยังเป็นอุปกรณ์สำ�คัญในห้องปฏิบัติการทาง ชีววิทยาที่นักเรียนต้องได้รับการฝึกฝนทักษะในการใช้งาน แต่ในขณะเดียวกัน ครูก็ต้องเตรียมพร้อม Virtual Lab ที่จะสอนเรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบ ออนไลน์ หรือครูอาจจะต้องศึกษากล้องจุลทรรศน์แบบใหม่ที่เป็นชุด Kit ติดกับกล้องโทรศัพท์ที่ใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตอย่างง่ายได้โดยทันที ก็จะเป็น อีกทางเลือกหนึ่งที่ครูจะสามารถใช้สอนนักเรียนได้อย่างไม่ตกยุค หรืออาจ ต่อยอดไปสู่การจัดเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาที่ให้นักเรียนลอง ออกแบบกล้องจุลทรรศน์อย่างง่ายก็จะช่วยเติมเต็มทักษะทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ให้กับนักเรียน ปัจจุบันนี้ เด็กๆ อยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งส่วนใหญ่ชื่นชอบ ศิลปินหรือนักร้อง ครูอาร์ตี้จึงนำ�แนวคิด Edutainment ที่นำ�ความรู้ ควบคู่ความบันเทิงมาสร้างความสนุกสนานในสถานการณ์ที่มีความตึงเครียด ในช่วง COVID-19 เพื่อดึงดูดนักเรียนให้เข้ามาสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น ผลงานที่ชนะเลิศในโครงการ The Educator Thailand by AIS Academy ได้นำ�เสนอคลิปการสอนเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ มีการนำ�เข้าสู่บทเรียน ด้วยการร้องและเต้น และให้เด็กๆ เรียนรู้ข้อต่อและกระดูกผ่านท่าต่างๆ จากคลิปนี้นักเรียนจะได้พิจารณาว่าท่านี้ต้องใช้ข้อต่อใดบ้าง การหมุนแบบนี้ ต้องใช้ข้อต่อแบบใด นับว่าเป็นความแปลกใหม่ที่สนุกสนานและสร้างสรรค์ โดยเสียงสะท้อนของนักเรียนพบว่า นักเรียนสนุกเหมือนดูคอนเสิร์ตที่ได้ ทั้งความรู้ไปพร้อมกับความบันเทิง ครูอาร์ตี้ยอมรับว่าในการทำ�งานย่อมเกิดความเหนื่อย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ต้องใช้เทคโนโลยีและการถ่ายทำ�ด้วย ตนเองโดยไม่มีทีมงาน ก็จะยิ่งยากและเหนื่อยขึ้นไปอีก แต่พยายาม แบ่งเวลาไปพักผ่อนหรือไปหาแรงบันดาลใจตามที่ต่างๆ ตัวครูเองจะต้อง ไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเอง เราจะต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกของนักเรียน ไปดูว่าเด็กนักเรียนสมัยนี้เขาทำ�อะไรกันอยู่ ชื่นชอบอะไร ต้องการอะไร เพื่อที่จะนำ�ข้อมูลมาออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับ นักเรียนมากที่สุด การพัฒนาตนเองเหมือนกับการขี่จักรยานที่ต้องปั่นไป เรื่อยๆ หากหยุดเราก็ล้ม วิธีการพัฒนาตนเองที่ดีที่สุด คือเราต้องกำ�หนด เป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราอยากทำ�อะไร อยากเป็นอะไร และถ้าเป้าหมายเรา ชัดเจนและมีความมุ่งมั่นจะสะท้อนออกมาผ่านการกระทำ� และมี แรงบันดาลใจที่อยากจะถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับครูด้วยกัน ความสุขที่ได้จากการทำ�งานคือ การที่สามารถปลดล็อคความ ไม่เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนของนักเรียนได้ สามารถชี้ทางหรือโค้ชนักเรียน ให้เป็นไปตามความมุ่งหวังของนักเรียนได้ เหมือนเราเป็นลมใต้ปีกที่คอยพยุง นักเรียนไปจนถึงเป้าหมายที่เขาต้องการ และในส่วนของผลงานที่ภูมิใจที่สุด ในตอนนี้คือ การได้ทำ�รายการเล่าสู่ครูฟัง เพราะได้เติมเต็มความฝันที่ อยากจะเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้สู่ครูในระดับประเทศ และในอนาคต สิ่งที่อยากทำ�ก็คืออยากจะพัฒนาครูทั่วประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจ และเก่งเทคโนโลยีทัดเทียมกับนานาชาติ ท้ายสุดครูอาร์ตี้ฝากไว้ว่า “ขอให้เดินหน้าทำ�ตามความฝันต่อไป หากอยากทำ�อะไร อยากเป็นอะไร ให้ลงมือทำ�ไปก่อนเมื่อเกิดความผิดพลาด หรือยังไม่เป็นดังหวังก็อย่าท้อ ลุกขึ้นมา ตั้งเป้าหมายหรือภาพในใจให้ชัด อยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายวันหนึ่งเราจะประสบความสำ�เร็จ” ผู้สนใจติดตาม ผลงานได้ที่ https://www.facebook.com/kruatit ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำ�เนินงานโครงการส่งเสริม การผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2564 - 2567) ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อผลิตครู วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMT) ที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ระบบ โรงเรียนมัธยมศึกษา ให้ทันกับแผนความต้องการข้าราชการครูของสำ�นักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีเป้าหมายในการผลิตครู SMT คุณภาพเพื่อบรรจุในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ทุกจังหวัดทั่วประเทศ อย่างต่อเนื่อง

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5