นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 236
8 นิตยสาร สสวท. 5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ไขปัญหาหรือ แก้ไขชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement) คณะผู้เขียนได้ทดสอบประสิทธิภาพของถังทิ้งขยะเปียกโดยการ ทดลองนำ�ตัวต้นแบบไปตั้งในบริเวณพื้นดินที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทดี จากนั้น ทิ้งขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผักและผลไม้ ลงในถังขยะต้นแบบ ปริมาณ 0.3 ลิตรโดยประมาณต่อ 1 วัน และใส่แกลบดิบลงในถังเพื่อลด กลิ่นเหม็น พบว่า 1) เมื่อเราทำ�ถังขยะเป็นระบบเปิดโดยเปิดบริเวณปากและก้นถัง รวมทั้งบริเวณด้านข้างของถังโดยมีการเจาะรูเพิ่มรอบถังทำ�ให้อากาศ เคลื่อนที่ผ่านมากขึ้นและมีสภาพที่เหมาะสมกับการย่อยสลายสารอินทรีย์ของ จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการกระบวนการย่อยสลาย ส่งผลให้กลิ่นลดลง 2) ระยะเวลาในการย่อยสลายขยะเปียกที่เราทิ้งจนเริ่มกลายเป็น ดินประมาณสัปดาห์ที่ 4 - 5 นับจากการทิ้งขยะเปียกในครั้งแรก 3) ขนาดของรูที่เจาะรอบถังมีขนาดใหญ่เกินไป (ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 2 นิ้ว) อีกทั้งจำ�นวนของรูที่มากและอยู่ติดกัน เมื่อทิ้งขยะไว้ เป็นเวลานาน ขยะจะทับถมกันทำ�ให้ขยะเปียกบางส่วนหลุดออกมานอกถัง ทางรู ทำ�ให้บริเวณรอบถังขยะเกิดความสกปรก คณะผู้เขียนจึงได้ดำ�เนินการ แก้ไขเป็นตัวต้นแบบที่ 2 โดยปรับให้ขนาดรูเล็กลงและจำ�นวนรูน้อยลง 4) รูรอบถังขยะสามารถใช้ในการเพาะปลูกผักสวนครัวได้ โดย ใช้ผักเหลือใช้ที่ยังมีรากอยู่ (ผักรีไซเคิล) ตัวต้นแบบที่ 1 ตัวต้นแบบที่ 2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5