นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

12 นิตยสาร สสวท. Medicine, 2020) เนื่องจากในระหว่างการพัฒนาต้นแบบอาจนำ�ไปสู่ การรวบรวมแนวคิดเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสม ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรมจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับปฐมวัยตามแนวทาง สะเต็มศึกษา แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ใบไม้รอบตัว (สสวท., 2565) ที่ได้พัฒนาและผ่านกระบวนการทดลองใช้ ภาพ 2 การเล่นของวิศวกรตัวน้อย ในชั้นเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้สถานการณ์ปัญหาจากนิทานเพื่อ แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทาง สสวท. นิทานเรื่อง การผจญภัยของเจ้าจ๋อ เจ้าจ๋ออาศัยอยู่ในป่ากับคุณแม่อย่างมีความสุข เจ้าจ๋อมักจะอาสา ช่วยคุณแม่ทำ�งานบ้านเป็นประจำ� ทั้งกวาดบ้าน ทิ้งขยะ ล้างจาน และช่วย ประกอบอาหารเท่าที่เจ้าจ๋อทำ�ได้ วันหนึ่งคุณแม่ติดธุระจึงขอให้เจ้าจ๋อ ช่วยไปซื้อไข่จากป้ากระต๊ากที่ฟาร์ม คุณแม่กำ�ชับเจ้าจ๋อว่า ไข่บอบบาง แตกง่าย จึงต้องระมัดระวังดีๆ รุ่งเช้าเจ้าจ๋อออกเดินทางจากป่าด้วยความตื่นเต้น ห้อยโหน ต้นไม้ซ้ายที ขวาที เดินข้ามสะพานไม้แคบๆ กระโดดข้ามหลุม ผ่านลำ�ธาร ที่มีโขดหินจึงกระโดดขึ้นบนโขดหิน กระโดดลงจากโขดหิน ลอดใต้อุโมงค์ ต้นไม้ ระหว่างเดินทางนั่นเอง เจ้าจ๋อนึกขึ้นได้ว่าไม่ได้นำ�ภาชนะมาใส่ไข่ กลับบ้าน จึงหันซ้ายมองขวาก็พบเพียงใบไม้ กิ่งไม้ เถาวัลย์ ก้อนหิน ดินเหนียว “ว้า...จะทำ�อย่างไรดีล่ะเนี่ย จะมีอะไรที่นำ�ไปใส่ไข่ได้บ้าง จะกลับไปเอาภาชนะตอนนี้ก็ไกลเกินไปแล้ว” เจ้าจ๋อคิด “เอาล่ะ ใช้สิ่งที่มีอยู่ พวกนี้นี่ล่ะ เอ...แล้วจะทำ�อย่างไรให้ใส่ไข่ให้ได้จำ�นวนมากๆ โดยที่ไข่ไม่แตก ก่อนจะถึงบ้านด้วย” เด็กๆ ช่วยเจ้าจ๋อคิดได้ไหม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5