นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

18 นิตยสาร สสวท. การคิดขั้นสูงคืออะไร กระบวนการคิดเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน ในปี ค.ศ. 1956 เบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom) ได้จัดระดับความสามารถ ของมนุษย์ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับ การเรียนรู้ การทำ�งานของสมองหรือความซับซ้อนในกระบวนการคิด โดยแบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การประยุกต์ใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินค่า (Evaluation) ดังภาพ 1 ภาพ 1 อนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s taxonomy, 1965) ที่มา https://ltl.lincoln.ac.nz/teaching/blooms-taxonomy/ ภาพ 2 อนุกรมวิธานแก้ไขของบลูม (Revised Bloom’s taxonomy, 2001) ที่มา https://citt.ufl.edu/media/cittufledu/images/Blooms-Taxonomy.png ภาพ 3 กรอบสมรรถนะหลักตามร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช… ที่มา https://cbethailand.com/wp-content/uploads/2021/10/cropped-INFO01-100.png อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2001 กลุ่มนักการศึกษานำ�โดย โลริน แอนเดอร์สัน (Lorin Anderson) ได้จัดระดับกระบวนการคิดหรือ การเรียนรู้ใหม่ โดยมีแนวคิดการปรับปรุงมาจากการทำ�งานของวิศวกรและ สถาปนิกที่กล่าวว่า การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เป็นสิ่งที่ยากที่สุด เพราะต้อง ผสมผสานความรู้ที่มีและจินตนาการเข้าด้วยกัน และยังมีความสอดคล้องกับ แนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงทำ�ให้มีการปรับปรุงอนุกรมวิธาน ของบลูมใหม่ เรียกว่าอนุกรมวิธานแก้ไขของบลูม (Anderson et al., 2001) ประกอบด้วย ความจำ� (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ (Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating) เป็นการคิดในระดับขั้นสูงสุด ดังภาพ 2 แนวคิดอนุกรมวิธานฉบับแก้ไขของบลูมยังคงคล้ายเดิม มีการ ปรับเพิ่มการสร้างสรรค์เป็นระดับสูงสุด ในขณะที่การคิดสังเคราะห์ ไม่ได้ ถูกตัดออกจากแนวคิดเดิมแต่อย่างใด แต่จะมองว่าเป็นการผนวกการ คิดสังเคราะห์เข้าไปในการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดเป็นผลงานการสร้างสรรค์ นั่นเอง และจากแผนภาพระดับความสามารถในการเรียนรู้หรือการคิดของ อนุกรมวิธานแก้ไขของบลูมนั้น นักการศึกษาได้กำ�หนดให้การคิดใน 3 ระดับ บนสุด จัดเป็นความคิดขั้นสูง (Watson, 2020) ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การประเมิน และการสร้างสรรค์ สำ�หรับประเทศไทย ได้มีการกำ�หนดสมรรถนะสำ�คัญของผู้เรียน ตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ความสามารถในการคิดเป็นสมรรถนะหลักประการหนึ่ง จากจำ�นวน 5 สมรรถนะซึ่งได้อธิบายไว้ว่า ความสามารถในการคิด หมายถึง รู้จัก คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเป็นระบบ นำ�ไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการ ตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยความสามารถ ในการคิดประกอบด้วย 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ 2) มีทักษะในการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ 3) สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) มีความสามารถในการคิดอย่างมีระบบ 5) ตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับตนเองได้ ในขณะที่ (ร่าง) กรอบหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช… ระดับประถมศึกษา หรือ ที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า (ร่าง) หลักสูตรฐานสมรรถนะนั้น มีการกำ�หนดให้ สมรรถนะการคิดขั้นสูงเป็นสมรรถนะหลักประการหนึ่งในจำ�นวน 6 สมรรถนะหลัก ดังภาพ 3

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5