นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

20 นิตยสาร สสวท. จากนั้นครูจึงกำ�หนดโจทย์ท้าทายนักเรียนในการออกแบบและ สร้างจรวดประดิษฐ์ โดยมีเงื่อนไข คือ จรวดประดิษฐ์ของนักเรียนสามารถ เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงจากการเป่าลมผ่านหลอดดูด และให้เคลื่อนที่พุ่งไป ข้างหน้าได้ไกลที่สุด ในขั้นตอนนี้นักเรียนจำ�เป็นต้องวางแผนการใช้วัสดุ อุปกรณ์พื้นฐานที่ครูจัดเตรียมไว้ ได้แก่ กระดาษ หลอดดูด เทปใส เทปกาวสองหน้า นักเรียนสามารถใช้สีเมจิกตกแต่งให้สวยงามได้ ในขั้นตอนของการออกแบบและวางแผนการทำ�งาน นักเรียนจะได้ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับการแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถประดิษฐ์ สร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ในขณะเดียวกัน นักเรียนจำ�เป็นต้องมีการคิด อย่างเป็นระบบในกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อนำ�ไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ชิ้นงานได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนี้ครูอาจให้นักเรียนทำ�งาน ร่วมกันในกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม หรืออาจให้ นักเรียนสร้างชิ้นงานเดี่ยวก็สามารถทำ�ได้ ขึ้นกับความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และเป้าหมายของผู้สอน ขณะที่นักเรียนวางแผน ออกแบบ และสร้างสรรค์ผลงาน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทดลองปล่อยจรวดประดิษฐ์ โดยใช้หลอดดูด เป็นตัวขับเคลื่อนให้จรวดพุ่งไปได้ และครูคอยให้ความช่วยเหลือในการใช้ วัสดุอุปกรณ์ และกระตุ้นความคิดนักเรียน เช่น ขนาดของตัวจรวดมีผลต่อ การเคลื่อนที่อย่างไร รูปทรงส่วนหัวจรวดควรเป็นแบบใด ส่วนหางจรวด ควรมีขนาดและรูปทรงอย่างไร การปล่อยจรวดให้เคลื่อนไปได้ไกลควรมี มุมเริ่มต้นของการเคลื่อนที่เท่าใด (นักเรียนสามารถใช้ครึ่งวงกลมวัด มุมประกอบการทดลองได้) ซึ่งคำ�ถามเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึก คิดวิเคราะห์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ฝึกกระบวนการแก้ปัญหา รวมทั้งทำ�งานอย่างเป็นระบบไปพร้อมกัน เมื่อนักเรียนได้ออกแบบ สร้างสรรค์และทดลองผลงานของตนเอง แล้ว ครูควรจัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันผลงานจรวดของนักเรียน โดยกำ�หนด ให้นักเรียนได้ทดลองปล่อยจรวดจากตำ�แหน่งเดียวกัน และดูผลลัพธ์ที่ได้ว่า จรวดแบบใดสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกล และเลือกผลงานนักเรียนจากที่ ทดลองทั้งที่เคลื่อนที่ได้ไกล และเคลื่อนที่ได้ไม่ไกลมาอภิปรายผลการทดลอง โดยให้เจ้าของผลงานได้นำ�เสนอด้วยการนำ�ชิ้นงานมาประกอบการอธิบาย ถึงแนวคิดการออกแบบ จุดเด่น จุดด้อย และแนวทางการปรับปรุงพัฒนาให้ จรวดประดิษฐ์สามารถเคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น ส่วนสรุป ตอนท้ายของกิจกรรมการเรียนรู้ ครูร่วมกับนักเรียนอภิปราย สรุปแนวคิดหลักของกิจกรรมในการออกแบบและสร้างสรรค์จรวดให้เคลื่อนที่ ไปได้ไกลตามต้องการนั้น ควรเป็นอย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่ของจรวดประดิษฐ์ ซึ่งควรอภิปรายร่วมกันในข้อสรุปสำ�คัญ เช่น รูปทรงส่วนหัวของจรวดควรมีปลายแหลมเพื่อลดแรงเสียดทานจากอากาศ ส่วนลำ�ตัวไม่ใหญ่และหนักมากเกินไปเพื่อให้มีแรงส่งจากการเป่าลมไปได้ ในขณะที่ส่วนปีกที่หางมีผลในการรักษาสมดุลหรือเสถียรภาพของทิศทาง ภาพ 5 การออกแบบและเป่าจรวดด้วยหลอดดูด

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5