นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

ปีที่ 50 ฉบับที่ 237 กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 23 ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปัญหามลภาวะ ซึ่งส่งผล กระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกมานาน หลายปี ปัญหาดังกล่าวนำ�มาสู่ประเด็นที่มีคนให้ความสนใจคือการพัฒนา ที่ยั่งยืน จากงานวิจัยของ Campbell & Speldewinde (2022) ระบุว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเป็นหนึ่งในวิธีการที่ สามารถส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ซึ่งจะช่วยให้เรารู้แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดี ส่งเสริมกระบวนการคิด ส่งเสริมการบูรณาการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการ หรือผลผลิตที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำ�วัน นอกจากนี้ การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษายังสร้างความตระหนักรู้ทางสังคม เป็นการสื่อสารประเด็นปัญหาให้กับคนทั่วไป เช่น เราจะใช้สะเต็มในการ แก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน หรือวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนาอย่างยั่งยืนอย่างไร จะทำ�อย่างไรจึงสามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราจะรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน อย่างไร คณะผู้เขียนจึงได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืนสำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในหัวข้อ “Cup `Holder จากกล่องนมโรงเรียน” โดยผนวกแนวคิดกระบวนการ การออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process) เข้ากับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของ นักเรียน ซึ่งขณะที่ทำ�กิจกรรมนักเรียนจะสามารถนำ�ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในศาสตร์ต่างๆ รวมถึงการออกแบบวิธีการหรือชิ้นงาน ที่สร้างสรรค์สำ�หรับตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำ�วันได้ รวมทั้งสามารถออกแบบและสร้าง Cup Holder จากวัสดุที่กำ�หนดให้ได้ เกิดทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน สามารถเลือกใช้ อุปกรณ์ในการวัดได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนอธิบายคุณสมบัติของวัสดุ ที่ใช้ในการเก็บความเย็นได้ สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 12 ของสำ�นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2565) เกี่ยวกับการลดปริมาณการใช้ซ้ำ� และการนำ�กลับมาใช้ใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดความตระหนักถึงปัญหาของสังคมที่อยู่รอบๆ ตนเองและหา แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นำ�เอา รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มาใช้ในการดำ�เนินการเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เริ่มจากการระบุปัญหาที่พบ แล้วกำ�หนดเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข จากนั้น จึงค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสม สำ�หรับการแก้ไข เมื่อได้วิธีการที่เหมาะสมแล้วจึงทำ�การวางแผนและพัฒนา สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ เมื่อได้สร้างชิ้นงานหรือวิธีการเรียบร้อยแล้ว จึงนำ�ไปทดสอบ หากพบข้อบกพร่องให้ทำ�การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สามารถ ใช้แก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการได้ และในตอนท้ายจะประเมินผลว่า สิ่งของ เครื่องใช้หรือวิธีการนั้นสามารถใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ได้ตามที่กำ�หนดไว้หรือไม่ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ (สุธิดา การีมี, 2565) ดังนี้ 1) ขั้นระบุปัญหา (Problem Identification) (15 นาที) ในขั้นตอนนี้ครูกระตุ้นความสนใจโดยการนำ�ภาพหรือ Cup Holder ของจริง 3 แบบ มาให้นักเรียนสังเกต จากนั้นให้นักเรียนร่วมกัน แสดงความคิดเห็นถึงข้อดีและข้อเสียของ Cup Holder แต่ละแบบ ภาพ 1 ตัวอย่าง Cup Holder แบบต่างๆ ทำ�จากไหมถัก ทำ�จากผ้า ทำ�จากพลาสติก

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5