นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

24 นิตยสาร สสวท. หลังจากนักเรียนแสดงความคิดเห็นแล้ว ครูอาจใช้คำ�ถามแบบ ซักไซ้ไล่เรียงเพื่อให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ Cup Holder ตัวอย่างคำ�ถามที่นำ�มาใช้มีดังนี้ 1. วัสดุที่ใช้ทำ� Cup Holder แต่ละแบบมีข้อดี หรือข้อเสีย อย่างไร 2. หากมีข้อเสีย นักเรียนคิดว่าสามารถเลือกวัสดุเหลือใช้ใด ในโรงเรียนแทนวัสดุดังกล่าว เพราะเหตุใดจึงเลือกใช้วัสดุดังกล่าว 3. นักเรียนมีแนวทางในการทำ� Cup Holderจากกล่องนม โรงเรียนได้หรือไม่ อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงคิดว่ากล่องนมโรงเรียน สามารถนำ�มาใช้ทำ� Cup Holder ได้ คำ�ถามเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดคำ�ถาม เข้าใจถึง ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งพยายามหาแนวทางในการแก้ปัญหาโดยใช้วัสดุ ในท้องถิ่น โดยครูกำ�หนดสถานการณ์ ดังนี้ “ถ้าต้องการออกแบบ Cup Holder ที่สามารถบรรจุแก้วน้ำ� ขนาด 22 ออนซ์ รวมถึงป้องกันน้ำ�รั่วซึมและเก็บความเย็นได้ โดยใช้ วัสดุเป็นกล่องนมโรงเรียนที่เหลือทิ้งจากการดื่มนมในแต่ละวันเป็นปริมาณมาก มาใช้เป็นวัสดุทดแทนในการออกแบบ นักเรียนจะออกแบบ Cup Holder อย่างไร โดยมีอุปกรณ์เป็นกล่องนมโรงเรียนไม่เกิน 10 กล่อง กรรไกร 1 เล่ม เข็ม ด้าย และเศษผ้า” 2) การรวบรวมข้อมูลและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search) (15 นาที) ขั้นตอนนี้ ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดย แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถระดับสูง ระดับ ปานกลาง และระดับต้นคละกัน นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่เพื่อปฏิบัติ กิจกรรมด้วยตนเอง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันสืบค้นเพื่อหาแนวทาง ในการออกแบบ Cup Holder จากกล่องนมโรงเรียน ตัวอย่างเช่น การ สืบค้นตัวอย่างและความรู้ที่เกี่ยวข้องในการผลิต Cup Holder เพื่อใช้เป็น ข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบโดยใช้อุปกรณ์ที่ครูกำ�หนดให้ในขั้นตอนที่ 1 ในระหว่างนั้นครูแจ้งเกณฑ์ให้นักเรียนทราบว่าแต่ละกลุ่มจะต้องสร้าง Cup Holder จากกล่องนมโรงเรียนโดยต้องใช้กล่องนมไม่เกิน 10 กล่อง ให้มีความสวยงาม สามารถเก็บความเย็นได้และป้องกันน้ำ�รั่วซึมออกมา 3) การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design) (30 นาที) นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบ Cup Holder โดยใช้กล่องนมโรงเรียน ที่ต้องสามารถกักเก็บความเย็นได้และป้องกันไม่ให้มีน้ำ�รั่วซึมออกมา จาก Cup Holder โดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูล แล้ววาดลงใน กระดาษ A4 ดังภาพ 2 ภาพ 2 แสดงการออกแบบ Cup holder จากกล่องนมโรงเรียน หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอสิ่งที่ได้ออกแบบ ซึ่ง ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับขนาด วัสดุ และแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบ นักเรียนกลุ่มอื่นและครูช่วยกันซักถามในประเด็นที่สงสัย หรือให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบ เมื่อได้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากเพื่อนและ ครูแล้ว นักเรียนจึงนำ�ข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงผลงานการออกแบบอีกครั้ง ก่อนจะลงมือปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5