นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

44 นิตยสาร สสวท. ดร.ศานิกานต์ เสนีวงศ์ นักวิชาการอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. e-mail: ssane@ipst.ac.th การประเมินการเรียนรู้ ในหลากหลายรูปแบบ ดั งได้กล่าวแล้วว่าการประมวลผลข้อมูลจากการประเมินอาจแปล ความหมายได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หากพิจารณา การแปลความหมายผลการประเมินเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ตัวเลข หรือคะแนนที่วัดได้สามารถทำ�ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Assessment) เป็นการประเมินการเรียนรู้เพื่อตัดสินความสามารถหรือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบกับความสามารถหรือ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนภายในกลุ่มหรือในชั้นเรียน 2. การวัดและประเมินแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment) เป็นการประเมินการเรียนรู้เพื่อตัดสินความสามารถ หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ กำ�หนดขึ้นโดยไม่จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของ นักเรียนภายในกลุ่ม อย่างไรก็ตาม รูปแบบการประเมินการเรียนรู้ไม่ได้มีแค่ 2 รูปแบบนี้ เท่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำ�แนก เช่น การประเมินการเรียนรู้ที่จำ�แนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน สามารถจำ�แนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ เป็นที่ทราบกันมาแล้วว่าการประเมิน (Assessment) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ในขณะการจัดการเรียนรู้ โดยครูจะทำ�หน้าที่รวบรวม วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่แสดงถึง หลักฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ แล้วจึงนำ�ข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการประเมิน การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินสามารถนำ�ไปแปลความหมายให้ได้เป็นข้อมูล เชิงปริมาณหรือตัวเลขที่วัดได้และข้อมูลเชิงคุณภาพว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นบรรลุตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่กำ�หนดไว้หรือไม่ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินสามารถนำ�ไปสู่การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาและปรับปรุง การเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ 1. การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) เป็นกระบวนการที่ครูรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ที่แสดงถึง การเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดขึ้นขณะที่นักเรียนกำ�ลังเรียนโดยใช้วิธี การประเมินที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ ของนักเรียน ครู สามารถนำ�ข้อมูลจากการประเมินไปสะท้อนกลับให้กับนักเรียนว่าขณะนี้ นักเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการเรียนรู้ เพื่อนำ�ไปสู่การประเมิน วางแผนการเรียนรู้ กำ�กับการเรียนรู้ วินิจฉัย และปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเอง 2. การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) เป็นกระบวนการที่ครูรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงการ เรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพจริงโดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายเพื่อ ทำ�ความเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนในแง่มุมต่างๆ อย่างรอบด้าน และเพื่อค้นหา ระบุ และวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน และให้ข้อมูล สะท้อนกลับที่มีคุณภาพแก่นักเรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ให้ดีขึ้น อันจะ นำ�ไปสู่การปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งครู และนักเรียนจะได้ประโยชน์จากการประเมินในรูปแบบนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5