นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

ปีที่ 50 ฉบับที่ 237 กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 45 3. การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL) เป็นกระบวนการที่ครูรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงการ เรียนรู้ของนักเรียนเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเพื่อใช้ตัดสินว่านักเรียนมีความสามารถทางวิชาการในเชิง สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐาน และบรรลุ วัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือไม่ ซึ่งข้อมูลสารสนเทศนี้สามารถ นำ�ไปใช้ในการกำ�หนดระดับคะแนนให้นักเรียน รวมทั้งใช้ในการปรับปรุง หลักสูตรและการเรียนการสอน (Corrigan, Gunstone & Jones, 2013) การประเมินการเรียนรู้ที่จำ�แนกตามขั้นตอนการจัดการเรียน การสอนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน สามารถจำ�แนกได้เป็น 4 รูปแบบ (สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2557) ดังนี้ 1. การประเมินเพื่อจัดวางตำ�แหน่ง (Placement Assessment) เป็นการประเมินก่อนเริ่มการเรียนการสอน เป็นการประเมินเพื่อพิจารณา ในภาพรวม โดยการประเมินรูปแบบนี้ทำ�ให้ครูได้ข้อมูลที่แสดงถึงความสนใจ ระดับความรู้รวมถึงทักษะกระบวนการพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการเรียนใน เนื้อหานั้นๆ ของนักเรียนแต่ละกลุ่มว่ามากหรือน้อยเพียงใด ครูสามารถ นำ�ข้อมูลเหล่านี้ไปใช้กำ�หนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ รวมถึงการ วางแผน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม และรายชั้นเรียน เพราะนักเรียนแต่ละกลุ่มควรใช้รูปแบบ การเรียนการสอนที่แตกต่างกัน 2. การประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment ) เป็น การประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานอะไรมาบ้าง เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนกำ�ลังจะเรียน และความรู้ที่นักเรียนรู้มาถูกต้องหรือไม่ มีสิ่งใดที่ยังต้องการการพัฒนาหรือต้องได้รับการเพิ่มเติมให้มีพื้นฐานที่ เพียงพอก่อนที่จะเริ่มเรียน ในการประเมินเพื่อวินิจฉัยครูจะต้องใช้วิธีการ ประเมินที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การพูดคุย สอบถาม หรือการใช้ แบบทดสอบ นอกจากนี้ การประเมินเพื่อวินิจฉัยยังสามารถใช้เพื่อหาสาเหตุ ของปัญหาหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล ที่มักจะเป็นเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาเรื่องการอ่าน โดยครูสามารถนำ� ข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการหาวิธีที่เหมาะสม หรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป เช่น การเลือกหรือปรับเปลี่ยนวิธีการสอน การใช้สื่อการสอน หรือการใช้นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียน การประเมินใน รูปแบบนี้จึงมักใช้ในลักษณะการประเมินก่อนเรียน แต่บางครั้งการประเมิน เพื่อวินิจฉัยสามารถเกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอนได้เช่นกัน (Collette & Chiappetta, 1989) 3. การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เป็นกระบวนการประเมินที่มีหลายขั้นตอน และดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง ตาราง 1 การประเมินการเรียนรู้ที่จำ�แนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน รูปแบบการประเมิน หัวข้อ จุดประสงค์ของการประเมิน วิธีการ/เครื่องมือ ช่วงเวลาที่เกิดการประเมิน ผลจากการนำ�ข้อมูลจากการ ประเมินไปใช้ เพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ของ นักเรียนและให้ข้อมูลสะท้อนกลับ แก่นักเรียน ใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลาก หลาย ระหว่างการเรียนการสอน นักเรียนทราบว่าขณะนี้ตนเองเกิด การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด และ เกิดความตระหนักในการเรียน รู้ของตน นำ�ไปสู่การประเมิน วางแผนการเรียนรู้ กำ�กับการ เรียนรู้ วินิจฉัย และปรับปรุงการ เรียนรู้ของตนเอง เพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ ระบุ ปัญหาและทำ�ความเข้าใจรูปแบบ การเรียนรู้ของนักเรียนและให้ข้อมูล สะท้อนกลับแก่นักเรียน ใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลาก หลาย ระหว่างการเรียนการสอน นักเรียนทราบถึงปัญหาหรือจุดที่ ต้องพัฒนาในการเรียนรู้ของตนเอง นำ�ไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้ให้ ดีขึ้น ครูทราบและเข้าใจรูปแบบ การเรียนรู้ของนักเรียน นำ�ไปสู่การ ปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอน ให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ ของนักเรียน เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักเรียนทราบถึงความสามารถทาง วิชาการ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ ตนเอง และผลการประเมินสามารถ นำ�ไปปรับปรุงหลักสูตรและการ เรียนการสอน การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5