นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

46 นิตยสาร สสวท. ตลอดการเรียนการสอน ไม่ใช่แค่การประเมินหรือการทดสอบระหว่างเรียน เป็นระยะๆ เพียงอย่างเดียว การประเมินรูปแบบนี้เป็นการประเมินเพื่อ ใช้ผลการประเมินในการพัฒนาการเรียนรู้ โดยครูใช้วิธีการและเครื่องมือ ประเมินที่หลากหลายรวมถึงการเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไม่ เป็นทางการ แล้วทำ�การวิเคราะห์ข้อมูลว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ หรือเกิด การพัฒนาการเรียนรู้หรือไม่ นักเรียนมีความรู้ความสามารถ ทักษะ กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดประสงค์ที่กำ�หนดไว้ ในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่ หากนักเรียนยังไม่สามารถบรรลุ จุดประสงค์ของการเรียนรู้ ครูจะต้องหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยครูอาจให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ แก่นักเรียน เช่น การให้ข้อแนะนำ� ข้อสังเกต การพูดคุยระหว่างครูกับ นักเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลว่าจะต้องให้นักเรียนปรับปรุงอะไร (Bell & Cowie, 2001; MacMillan, 2014) และครูยังสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ ตรวจสอบตนเองว่าแผนการสอนที่เตรียมมาในครั้งนี้เหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงอย่างไร กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างไร มีจุดใดที่ต้อง ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งจะเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัด 4. การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) เป็นการประเมินที่มักเกิดขึ้นเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้และดำ�เนินการ อย่างเป็นทางการ เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ตามตัวชี้วัดตอนปลายภาคหรือปลายปีการศึกษา โดยครูใช้วิธีการและ เครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลาย ข้อมูลที่ได้จากการประเมินเพื่อสรุปผล การเรียนรู้นี้ยังใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับการประเมินก่อนเรียน ทำ�ให้ทราบพัฒนาการของนักเรียนได้อีกด้วย ตาราง 2 การประเมินการเรียนรู้ที่จำ�แนกตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน รูปแบบการประเมิน หัวข้อ จุดประสงค์ของ การประเมิน ช่วงเวลาที่เกิด การประเมิน ผลจากการนำ�ข้อมูล จากการประเมินไปใช้ เพื่อตรวจสอบความสนใจ ระดับความรู้และทักษะ พื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการเรียน ของนักเรียน ก่อนเริ่มการเรียนการสอน ครูสามารถวางแผน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับนักเรียนทั้ง รายบุคคล รายกลุ่ม และรายชั้นเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน ของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ กำ�ลังจะเรียน ก่อนและระหว่างการเรียน การสอน ครูสามารถหาวิธีเพื่อ ช่วยเหลือและพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อตรวจสอบการเรียนรู้ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ และ พัฒนาการเรียนรู้ของ นักเรียน ตลอดเวลาในการเรียน การสอน นักเรียนทราบถึงการเรียนรู้ ของตนเอง นำ�ไปสู่การ ปรับปรุงการเรียนรู้ของ ตนเองให้ดีขึ้น ครูสามารถพัฒนาการเรียน การสอนของตนเองเพื่อให้ นักเรียนเกิดความก้าวหน้า ในการเรียนรู้ตามมาตรฐาน หรือตัวชี้วัด เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน ใช้วิธีการและเครื่องมือที่ หลากหลาย เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักเรียนทราบถึง ความสามารถทางวิชาการ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ ตนเอง และผลการประเมิน สามารถนำ�ไปปรับปรุง หลักสูตรและการเรียน การสอน การประเมินเพื่อจัดวาง ตำ�แหน่ง (Placement Assessment) การประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment) การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) การประเมินเพื่อสรุปผลการ เรียนรู้ (Summative Assessment) จากการพิจารณารูปแบบของการประเมินการเรียนรู้ที่จำ�แนก ตามเกณฑ์ต่างๆ จะพบว่าการประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) และการประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) จะมี ความคล้ายคลึงกับการประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) (Bennett, 2011) เนื่องจากการประเมินทั้ง 3 รูปแบบเกิดขึ้นระหว่าง การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เพื่อตรวจสอบความ ก้าวหน้าในการเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่นักเรียนและเพื่อให้นักเรียน ทราบถึงการเรียนรู้ของตนเอง นำ�ไปสู่การปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเอง ให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ของครูด้วย แต่การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) มีความแตกต่างจากการประเมินอีก 2 รูปแบบ คือ นอกจากจะมีจุดประสงค์ ในการรวบรวมข้อมูลที่บ่งบอกถึงการเรียนรู้ของนักเรียนแล้วยังมีจุดประสงค์ เพิ่มเติมในการประเมินเพื่อระบุปัญหาและทำ�ความเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ ของนักเรียน ดังนั้น ข้อมูลที่ได้เพิ่มจากการประเมินรูปแบบนี้จึงเป็นข้อมูล ที่ทำ�ให้ครูสามารถวินิจฉัยปัญหาหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคที่จะขัดขวางการเรียนรู้ ของนักเรียนและทราบว่าวิธีการเรียนรู้แบบใดที่เหมาะสมและช่วยให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5