นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237
ปีที่ 50 ฉบับที่ 237 กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 47 ภาพ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) และการประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) การประเมินเพื่อเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) • ระบุปัญหาและทำ�ความเข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ ของนักเรียน การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: Aal) • เกิดขึ้นระหว่าง การเรียนการสอน • วิธีการประเมินที่หลากหลาย • ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ • ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ • สะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนการสอน สำ�หรับการประเมินอีก 2 รูปแบบ คือ การประเมินเพื่อจัดวางตำ�แหน่ง (Placement Assessment) และการประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment) ก็มีจุดประสงค์หลักเช่นเดียวกันกับการประเมินทั้ง 3 รูปแบบตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของ ช่วงเวลาที่เกิดการประเมิน และผลจากการประเมิน ซึ่งการประเมินเพื่อ จัดวางตำ�แหน่ง (Placement Assessment) และการประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment) จะมุ่งเน้นไปที่ครูทำ�การประเมินเพื่อให้ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้และความสามารถของนักเรียนก่อนที่จะ จัดการเรียนการสอนในเนื้อหาการเรียนรู้นั้นๆ จากนั้นจึงนำ�ข้อมูลเหล่านี้ มาวางแผนและออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความสนใจหรือ ความรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning : AoL) และการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) ก็มีความคล้ายคลึงกันเช่นกัน เพราะเป็นการประเมินที่เกิดขึ้นเมื่อจบหน่วย การเรียนรู้หรือเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ และการประเมินทั้ง 2 แบบนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบผลการเรียนรู้ หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนตามตัวชี้วัด อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการประเมินการเรียนรู้จะแบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ ไม่ว่าจุดประสงค์จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอะไร แต่จุดมุ่งหมายของ การนำ�ข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการประเมินการเรียนรู้ในทุกรูปแบบไปใช้ ประโยชน์ก็จะเหมือนกันคือ เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดี ยิ่งขึ้นและพัฒนาความสามารถของครูในแง่ของการออกแบบและพัฒนา กระบวนการเรียนการสอน Angelo, T. A. & K. P. Cross. (1993). Classroom Assessment Techniques: a handbook for college teachers. 2 nd ed. San Francisco: Jossey Bass. Bell, B., & Cowie, B. (2001). F ormative Assessment and Science Education. Dordrecht: kluwer academic publishers. Collette, A. T., & Chiappetta, E. L. (1989). Science Instruction in The Middle and Secondary Schools. 2 nd ed. Columbus, OH: Merrill Pub. Co. Corrigan, D. & Gunstone, R. F. & Jones, A. (2013). Valuing Assessment in Science Education Pedagogy, Curriculum, Policy. Dordrecht, Netherlands: Springer. Cowie, B., & Bell, B. (1999). A Model of Formative Assessment in Science Education. Assessment in Education: principles, policy & practice, 6 (1): 101-116. doi:10.1080/09695949993026. MacMillan, J. (2014). Classroom Assessment: principles and practice for effective standards-based instruction. 6 th ed. Cranbury, NJ: Pearson Education. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด. สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5