นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

ปีที่ 50 ฉบับที่ 237 กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 5 สินีนาฏ จันทะภา ผู้ชำ�นาญ ฝ่ายยุทธศาสตร์ แผน และประกันคุณภาพ สสวท. e-mail: schan@ipst.ac.th ปี 2563-2564 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ก้าวข้ามอุปสรรคสู่การเรียนรู้วิถีใหม่ตามนโยบาย “IPST Go Digital” อย่างรวดเร็วสู่องค์กร ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำ�งาน และบริการ ของ สสวท. โดยใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการภายในอย่างครบวงจร รองรับการทำ�งานที่สะดวกรวดเร็ว และสนับสนุนการทำ�งาน Work From Home ปี พ.ศ. 2565 “IPST Go Digital” และ “ฐานสมรรถนะ” เป็นจุดเน้น ในการดำ�เนินงานของ สสวท. โดยร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย ปรับเปลี่ยนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ภายใต้การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน อาทิ พัฒนาความฉลาดรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ได้แก่ การพัฒนา และส่งเสริมแนวทางการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในโรงเรียน ทุกระดับชั้นและการพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ระดับประเทศและระดับนานาชาติ สดๆ ร้อนๆ กับครึ่งปีที่ผันผ่าน ผลงานที่น่าจับตา 2565 ผลงานสำ�คัญที่ สสวท. ดำ�เนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อช่วงตุลาคม 2564 - มิถุนายน 2565 ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดและใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำ�ไปใช้ได้จริง ในรูปแบบต้นฉบับ ต้นร่าง ต้นแบบ ชุดกิจกรรม อุปกรณ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการนำ�ไปใช้ 235 รายการ ซึ่ง สสวท. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมายในปีนี้ 546 รายการ การวิจัย วัดผล และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยร่วมกับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พัฒนาข้อสอบ TCAS 65 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 วิชา และ ทปอ. ดำ�เนินการจัดสอบ TCAS 65 เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.​2565 ซึ่งจากการติดตาม ความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบว่า ได้รับเสียงสะท้อนเชิงบวก เกี่ยวกับความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน และข้อสอบวัด เนื้อหาภายใต้ขอบเขตของหลักสูตรและไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และปรับแนวข้อสอบโดยใช้สถานการณ์หรือข้อมูลเป็นตัวนำ�เรื่อง ให้ข้อมูล ที่จำ�เป็นเพียงพอ และนำ�ไปสู่การคิดวิเคราะห์เพื่อหาคำ�ตอบ ไม่วัดความจำ� แต่เน้นวัดความเข้าใจในเนื้อหา วัดการประยุกต์ใช้ความรู้ และการคิดวิเคราะห์ รวมถึงวัดสมรรถนะสำ�คัญของการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งข้อสอบลักษณะดังกล่าวสะท้อนความรู้ความสามารถของผู้สอบ และ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะควบคู่กับการวัดผล เชิงสมรรถนะในโรงเรียนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป การปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ตามแนวทาง สสวท. โดยส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียน การสอนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้กับครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป 2,986 คน ผ่าน กิจกรรมต่างๆ และกำ�ลังเตรียมจัดอบรมครูผู้สอนทั่วประเทศใน 4 สังกัด ได้แก่ สช. สพฐ. สถ. และ กทม. เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ โดยจัดผ่านระบบอบรมครูออนไลน์ (TeacherPD) ปักหมุดจุดเด่น สสวท. องค์กรดิจิทัลที่เน้นสมรรถนะ เตรียม IPST 3I 2H สู่โลกอนาคต

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5