นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237
52 นิตยสาร สสวท.ิ ต ภาพ 2 กระบวนการอ่านตามกรอบการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของ PISA 2018 ผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลง อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระหว่าง PISA 2015 กับ PISA 2018 ที่นักเรียนไทย มีคะแนนการอ่านลดลงถึง 16 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่าน อยู่ที่ 393 คะแนนนั้น เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของคะแนนการอ่าน ระหว่าง PISA 2015 และ PISA 2018 ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน พบว่า เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากกว่ารูปแบบของบทอ่านในข้อสอบ การอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการอ่านผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งสอดคล้อง กับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยที่พบว่า มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.75 และ 0.83 ตามลำ�ดับ ดังแสดงในภาพ 3 นั่นจึงยิ่งสะท้อนภาพที่ชัดเจนว่า สมรรถนะด้านการอ่านคือ รากฐานสำ�คัญและส่งผลต่อการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ ของนักเรียน ดังนั้น จากผลการประเมิน PISA จึงบ่งชี้ว่าการยกระดับ ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทยถือเป็นความท้าทายที่สำ�คัญ สำ�หรับระบบการศึกษาไทย ความท้าทายในการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านของไทย การประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy) ของ PISA ต่างจากการประเมินการอ่านทั่วไปที่มักเข้าใจว่ามีบริบทเพียง การอ่านออกเขียนได้ แต่ PISA มีมุมมองเรื่องความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ในแง่การแสดงความสามารถที่กว้างขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับสาระ ข้อมูลที่ได้อ่าน ผู้อ่านต้องสามารถค้นหาและรู้ตำ�แหน่งข้อมูลที่ต้องการ เข้าใจสิ่งที่อ่านและบูรณาการเข้ากับความรู้เดิม ตรวจสอบและประเมิน มุมมองของผู้เขียนและตัดสินใจว่าสิ่งที่อ่านนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ หรือเกี่ยวข้อง กับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของเรื่องหรือไม่ โดยกรอบการประเมิน PISA 2018 ระบุกระบวนการในการอ่าน 3 ด้านหลักที่สะท้อนความฉลาดรู้ด้าน การอ่าน ดังรายละเอียดในภาพ 2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5