นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237
ปีที่ 50 ฉบับที่ 237 กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 53 ภาพ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยใน PISA 2018 จากแนวโน้มของผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทย ที่ลดลงนี้ สสวท. จึงได้วิเคราะห์เพื่อหาว่า ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อผล การประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทย โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวได้ใช้ ข้อมูลจาก PISA 2018 ประกอบด้วยตัวแปรกลุ่มต่างๆ ดังแสดงในภาพ 4 รวมจำ�นวน 85 ตัวแปร ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของ นักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน เช่น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของ นักเรียน สถานะอาชีพของพ่อหรือแม่ การมีทรัพยากรทางการศึกษา ที่บ้าน การใช้ ICT นอกเวลาเรียนที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ความเพลิดเพลิน ในการอ่าน การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำ�งาน การที่ครูสะท้อน ความเห็นให้แก่นักเรียน การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน อัตราส่วน ระหว่างนักเรียนต่อครู สัดส่วนของครูตามวุฒิการศึกษา ความถี่ในการ อ่านสื่อ เวลาที่ใช้ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย โดยได้ดำ�เนินการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) และ พยากรณ์ด้วยเทคนิค Random Forest ซึ่งวิธีดังกล่าวจะระบุตัวชี้วัดที่ สามารถบอกความสำ�คัญของตัวแปร (Mean decrease in impurity หรือ MDI) ในการทำ�นายผลที่แม่นยำ�ได้ ภาพ 4 กลุ่มตัวแปรและตัวอย่างตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล PISA 2018
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5