นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237

54 นิตยสาร สสวท. นักเรียน ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัว ซึ่งเป็นรากฐานสำ�คัญ ในการหล่อหลอมด้านต่างๆ และเป็นส่วนสำ�คัญในการสนับสนุนในความ พยายามและความสำ�เร็จทางการเรียนของนักเรียน เนื่องจากการอ่านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกๆ วันของคนส่วนใหญ่ การอ่าน จึงเป็นพื้นฐานสำ�คัญในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและช่วยให้เรา ได้รับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำ�วัน ดังนั้น การส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำ�คัญมาก โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ข้อมูล ข่าวสารเกิดขึ้นมากมายและหลั่งไหลอย่างรวดเร็ว จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ PISA สะท้อนให้เห็นว่า ระบบ การศึกษาไทยจำ�เป็นต้องยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน อย่างเร่งด่วน ซึ่งการดำ�เนินการดังกล่าวให้ประสบความสำ�เร็จได้นั้น ต้องเกิดจากการส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของ นักเรียนควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา โดยเฉพาะ กลุ่มที่เป็นนิเวศทางการเรียนรู้ และใกล้ตัวของนักเรียนมาก ประกอบ ไปด้วยโรงเรียน ซึ่งสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อม และ บรรยากาศที่เอื้ออำ�นวยต่อการเรียนรู้ ครู ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริม พัฒนาการเรียนรู้ รวมไปถึงการพัฒนาด้านพฤติกรรม อารมณ์ และสังคมของ OECD, PISA. (2018). Results (Volume I): What Students Know and Can Do. PISA. Paris: OECD Publishing. World Bank. “Thailand - Wanted : a quality education for all. Washington, D.C. : World Bank Group,” Retrieived Jun 19, 2022, from http://documents.worldbank.org/curated/en/941121468113685895/Thailand-Wanted-a-quality-education-for-all. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่าน และแนวทางในการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-reading-success-factor/. บรรณานุกรม ภาพ 5 ปัจจัยสำ�คัญที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทย ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อคะแนน การอ่านของนักเรียนไทยมากที่สุด 3 ลำ�ดับแรก ได้แก่ 1) การมีกรอบ ความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ที่เชื่อว่าความสามารถและ สติปัญญาเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ 2) การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำ�งาน ที่ให้ความสำ�คัญกับความทุ่มเทในการทำ�งานให้สำ�เร็จ และ 3) การรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โดยไม่มีความรู้สึกเชิงลบหรือแปลกแยกเมื่อ อยู่ที่โรงเรียน นอกจาก 3 ปัจจัยดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า มีปัจจัยสำ�คัญอื่นๆ ที่ส่งผลเชิงบวกต่อคะแนนการอ่านด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็น สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนโดยตรง ได้แก่ ความเพลิดเพลิน ในการอ่าน และการรู้กลวิธีในการอ่านเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ รวมทั้งปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครูและการสนับสนุนจากพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย ดังแสดงในภาพ 5

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5