นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237
ปีที่ 50 ฉบับที่ 237 กรกฎาคม - สิงหาคม 2565 59 QUIZี ที่ ั บี่ ิ ง สวัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รักและเคารพ ณ เวลานี้โลกกำ�ลัง ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้าสู่สมดุล สมดุลของโลกก็คือสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมต้องอยู่ในแบบที่ควรจะเป็นของโลกใบนี้ ซึ่งต่ายเชื่อว่า ไม่น่าจะมีใครสามารถระบุได้ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่เราเรียนมากันตั้งแต่ประถม เรื่องความร้อน จะเห็นได้ว่า ในการทดลองเรื่องการถ่ายโอนความร้อน จะพบความจริง พื้นฐานของธรรมชาติ ก็คือ ความร้อนจะถ่ายโอนจากที่ที่มีอุณหภูมิสูง ไปต่ำ�เสมอ และความร้อนทำ�ให้แก๊สต่างๆ ในอากาศเกิดการขยายตัว และเมื่อขยายตัวแล้วจะทำ�ให้ความหนาแน่นของอากาศในส่วนนั้น น้อยลง จึงลอยตัวสูงขึ้น ยิ่งร้อนมากก็จะยิ่งขยายตัวมาก เบามาก ก็จะเคลื่อนที่ได้ไวขึ้น โอ๊ะ! นี่เป็นที่มาของ การเกิดลมนั่นเอง จึ งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ความเจริญทางวัตถุ การใช้ยวดยานพาหนะกัน อย่างเมามันจะทำ�ให้เกิดความร้อนขึ้นในพื้นที่หนึ่ง แล้วมันจะเกิดการถ่ายโอน ความร้อนออกไปในบริเวณใกล้เคียง ถ้าคุณๆ สังเกตดีๆ จะพบว่า ความแตกต่าง ระหว่างอุณหภูมิในเมืองกับอุณหภูมิในป่าเขาลำ�เนาไพรเริ่มมีมากขึ้น ทำ�ให้ทุกวันนี้ เราจะพบเห็นพายุฝนฟ้าคะนองที่ทรงพลังและทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อโลกมี อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำ�ทะเลอุ่นขึ้น ความร้อนจะทำ�ให้ปริมาณไอน้ำ�ในทะเลและแหล่งน้ำ�ต่างๆ ระเหยและลอยตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น และแน่นอน! เราก็ต้องเตรียมรับ ปริมาณน้ำ�ฝนที่มากขึ้น แต่จะเกิดขึ้นที่บริเวณใดของโลกก็เท่านั้นเอง เมื่อคิดแบบ เป็นระบบ Earth as a system ก็น่าจะทำ�ให้มองเห็นได้ว่า ทุกๆ สิ่งบนโลก ทุกๆ ความรู้ ที่เรียนเป็นบทๆ มันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด แยกออกจากกันไม่ได้เลยทีเดียว เมื่อฝนชุก สิ่งมีชีวิตที่มีความสุขที่สุด ต่ายคิดเองว่า คือ ต้นไม้ใบหญ้านั่นเอง ถ้ามนุษย์เข้าใจพืชมากกว่านี้ในอนาคต มนุษย์ก็จะเห็นได้ว่า พืชเองก็น่าจะมีการแสดงออก และการสื่อสารในแบบของพืช ณ วันนี้ มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่า พืชมีการ สื่อสารระหว่างกัน พืชรับรู้และตอบสนองได้ในแบบของพืช ยังมีความขัดแย้งในเรื่องนี้หลายอย่าง เช่น ในทางธรรมมะบอกว่าการฆ่าพืช ไม่บาปเพราะพืชไม่มีเลือด ไม่มีชีวิตเหมือนสัตว์ ในประเด็นหลังต่ายก็งงๆ อยู่ เพราะ สำ�หรับต่าย ถ้าเลือดคือของเหลวในร่างกายสิ่งมีชีวิต พืชก็มีทั้งแบบ เลือดจางและเลือดข้น เลือดจางพบได้กับการลำ�เลียงน้ำ�และแร่ธาตุ ในพืช ส่วนเลือดข้นก็เป็นเรื่องของ “น้ำ�ยาง” ที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งเรา จะสังเกตและพบได้ในพืชหลายชนิด ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักก็ น่าจะเป็นต้นยางพารานั่นเอง ตัวอย่างเรื่องการสื่อสารของพืชที่ทำ�ให้นักวิทยาศาสตร์ ตื่นเต้นมากก็คือ กรณีศึกษาการตายของยีราฟที่เป็นผลมาจากพืช อาหารที่กินประจำ�คือต้น Acacia ปกติยีราฟจะกินใบต้นไม้ชนิดนี้ อยู่แล้ว แต่มาพบการตายของยีราฟจำ�นวนมากในเหตุการณ์ที่มี การย้ายยีราฟจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งมายังอีกแห่งหนึ่ง ทำ�ให้จำ�นวนยีราฟกับต้น Acacia ไม่สมดุลกัน นักวิทยาศาตร์ ใช้เวลาหาสาเหตุการตายอยู่นานพอสมควร จนในที่สุดก็พบว่า ที่ยีราฟตายเพราะต้น Acacia มีการสื่อสารกัน โดยต้นที่ถูกยีราฟ กัดกินจะสร้างสารระเหยหลายชนิด (volatile compounds) ปล่อยมาตามลมเพื่อให้ต้น Acacia ต้นอื่นๆ รับรู้ว่า “พวกเรา โดนจู่โจมจากยีราฟแล้วเพื่อน!” สารเคมีเหล่านี้เอง ทำ�ให้ต้น Acacia รับรู้และตอบสนอง โดยการเพิ่มการสร้างสารที่ชื่อ tannin ขึ้นมา สะสมในใบที่แตกใหม่จำ�นวนมาก สาร tannin นี้เองที่เป็นกลไก ในการปรับตัวเพื่อป้องกันอันตรายของต้นไม้ ใช้เอาไว้ปลิดชีพ ยีราฟที่ยังกล้าเข้ามากัดกินใบ Acacia อีก เป็นการตอบสนอง ของต้นไม้เพื่อลดจำ�นวนยีราฟลง เมื่อเข้าใจเรื่องดังกล่าวแล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงหันมา ศึกษารูปแบบการกินใบต้น Acacia ของยีราฟอีกครั้ง ทำ�ให้ สังเกตพบว่าโดยปกติแล้ว ยีราฟจะกินใบต้น Acacia จากต้นที่อยู่ ใต้ลมก่อนเสมอ ทำ�ให้นักวิทยาศาสตร์ถึงบางอ้อ เข้าใจละ! แต่ ในกรณีที่ยีราฟตายครั้งนั้น คงเป็นเพราะจำ�นวนมันมากเกินแล้ว แย่งกันกิน กลัวเพื่อนกินใบไม้หมดก่อนนั่นเอง!
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5