นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 237
60 นิตยสาร สสวท. QUIZ พืชทำ�ให้เรา มีความสุขเสมอ เชื่อต่าย! ต่าย แสนซนิ ต ต่อมา เรื่องการตอบสนองของพืชโดยทั่วไปถูกนำ�มาใช้เป็นตัวอย่างในการ ศึกษาในแบบเรียนต่างๆ เช่น การโค้งเอียงของต้นพืชเข้าหาแสงเพื่อรับแสงให้ได้พอเพียง กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การตอบสนองของพืชต่อแรงโน้มถ่วงของโลก การหุบ และกางใบของต้นไมยราพ ซึ่งเมื่อแมลงมาเกาะจะกินใบ ไมยราพก็จะหุบใบในติดกัน ทำ�ให้แมลงตกใจบินหนีไป หรือถ้าไม่ตกใจก็จะทำ�ให้แมลงกัดกินใบของมันได้ยากขึ้น อีกหน่อย การหุบและกางใบของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเพื่อ ทำ�หน้าที่จับแมลง และพอมีแมลงมาเกาะก็จะหุบใบจับแมลงไว้แล้วปล่อยเอนไซม์ออกมา ย่อยแมลงได้ทันที ต่ายว่าตัวอย่างที่บอกไปน่าจะยังไม่สนุกเท่ากับการทดลองนี้ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ทดลองวางยาสลบต้นไม้ โดยใช้ Diethyl Ether ก็พบว่า Diethyl Ether ที่ใช้ทำ�ให้ การตอบสนองของต้นไม้หยุดทำ�งานไป และเมื่อเอาต้นไม้ออกจากระบบการวางยาสลบ ปล่อยตั้งทิ้งไว้ ต้นไม้ก็สามารถกลับมาตอบสนองได้เหมือนเดิม นี่ก็มีการตอบสนอง ที่เหมือนกับในสัตว์เลยทีเดียว ลองดูได้จากคลิปต่อไปนี้ Plants under anesthesia - YouTube Electrical experiments with plants that count and communicate | Greg Gage - YouTube ยังมีตัวอย่างต้นไม้อื่นๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาแล้ว เช่น การสร้าง สารเคมีที่ระเหยได้ปล่อยออกไปจากต้นมะเขือเทศ เพื่อใช้เรียกแมลงที่ชอบกินตัวหนอน มาจัดการหนอนที่เข้ามาทำ�ลายต้นมะเขือเทศ ประมาณว่า “ตัวเอง ช่วยเค้าด้วย หนอน บุกมากัดกินใบเค้าแล้ว ช่วยมากินมันหน่อย!” หรือในกรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช่การทำ�ร้ายกัน เช่น กล้วยไม้ (Bee Orchids) ที่มีโครงสร้างของดอกคล้ายผึ้งเพศเมียแสนสวย และ สร้างสารระเหยที่เป็นกลิ่นฟีโรโมนของผึ้งเพศเมีย ใช้สำ�หรับหลอกล่อให้ผึ้งเพศผู้เข้ามา เกลือกกลั้วกลิ้งตัวไปมา ทำ�ให้ผึ้งเพศผู้ตัวนั้นมีเกสรเพศผู้ติดตามตัวไปด้วย และผึ้งเพศผู้ ตัวนั้นก็จะย้ายไปดอกกล้วยไม้ดอกอื่นๆ บินไปบินมาเมื่อพบว่า “อ้าวดอกนี้ไม่มี ผึ้งเพศเมียนี่หว่า!” เพราะดอกกล้วยไม้ดอกอื่นๆ ก็จะสร้างสารระเหยแบบนี้ขึ้นมา หลอกผึ้งเพศผู้ให้เกิดความกำ�หนัดเช่นกัน เรียกว่าบินกันว่อนแบบหน้ามืดตามัว กันเลยทีเดียว นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่า ดอก Evening Primroses สามารถได้ยินเสียง การบินมาของแมลงที่มาช่วยผสมเกสรได้ จริงๆ ดอกไม้ไม่มีหู ถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ สามารถรับรู้ได้จากการสั่นสะเทือนที่ความถี่ที่จำ�เพาะของการบินของแมลงที่มาช่วย ผสมเกสรนั่นเอง พอรับรู้ก็จะทำ�ให้ดอกไม้เร่งการสร้างน้ำ�หวานภายในดอกเพิ่มมากขึ้น ดอกไม้ไทยก็ใช่เล่น ดอกอุตพิด ที่มีลักษณะช่อดอกคล้ายดอกหน้าวัว เป็นดอกไม้ที่มี กลิ่นเหม็น (เหมือนขี้) ซึ่งกลิ่นนี่เองแหละ ที่ถูกนำ�มาใช้สำ�หรับการล่อให้แมลงที่ชอบ กลิ่นเหม็นเข้ามาช่วยในการผสมเกสร คุณๆ ลองหามาปลูกได้นะ ต้นอุตพิดมีสรรพคุณ ทางยาแบบไม่ใช่ขี้ๆ นะเออ ทั้งหมดทั้งมวลบอกให้เรารู้ว่า พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ การสื่อสารในรูปแบบที่แตกต่างจากสัตว์ พืชเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ พืชสามารถเคลื่อนไหวได้ แม้จะไม่มีกล้ามเนื้อ แต่ก็ใช้วิธีการ ที่เหมือนกันกับสัตว์คือใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ในการ สื่อสาร คุณๆ สามารถดูการทดลองการตอบสนองของพืชได้ผ่าน ความต่างศักย์ไฟฟ้า โดยการสัมผัสพืชจากต้นหนึ่งจะส่งสัญญาณ ไฟฟ้าไปกระตุ้นให้พืชอีกต้นตอบสนองได้จากการทดลองนี้ สุดท้าย จากเรื่องราวที่ต่ายนำ�เสนอ ต่ายเชื่อว่า น่าจะ มีส่วนช่วยให้คุณๆ ได้เข้าใจต้นไม้และการสื่อสารของต้นไม้ที่เรา สามารถพบเห็นได้ทุกวัน และคุณๆ อาจจะลองสื่อสารกับต้นไม้ เหล่านั้นดูในแบบของคุณ ต่ายเชื่อว่า วันนึงเขาอาจจะสื่อสารกลับมา ให้เรารู้ในรูปแบบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ เช่น โค้งงอเป็นตัวเลขให้เรา ได้เห็นว่าฉันรับรู้ที่เธอสื่อสารกับฉันนะ อิอิ ถึงตอนนั้นก็สุดแล้ว แต่ตัวคุณๆ ล่ะ ว่าจะทำ�ยังไงต่อ หากคุณๆ สนใจหรืออยากให้ ต่ายติดตามเรื่องเราวอะไรเป็นพิเศษ ก็สามารถเขียน email ส่งมา บอกกล่าว หรือมาคุยกับต่ายได้เหมือนเดิม ที่ funny_rabbit@l ive.co.uk ขอให้เจอ ขอให้รวยจ้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5