นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
12 นิตยสาร สสวท. ขั้นสอน จากขั้นตอนการทำ�กิจกรรมทั้ง 2 ตอน จะเห็นได้ว่ามีความยากง่าย แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าการสร้างแบบจำ�ลองในกิจกรรม ตอนที่ 1 เป็น การสร้างแบบจำ�ลองตามวิธีการในใบกิจกรรมที่ผู้เรียนไม่ได้ออกแบบ แนวคิดในการสร้างด้วยตนเองและมีการอ่านใบความรู้ แต่ผู้สอนสามารถ จัดการเรียนรู้เชิงรุกหรือ Active Learning ได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการทำ�กิจกรรม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดและ ป้อนคำ�ถามที่ซับซ้อนเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เรียน โดยชี้ประจักษ์พยาน ที่ผู้เรียนสามารถเห็นได้จากกิจกรรมเชื่อมโยงกับการอ่านใบความรู้ และให้ ผู้เรียนได้พยายามอธิบายแนวคิดหรือการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาด้วย ภาษาของตนเองผ่านการเขียนหรือการอภิปราย ผู้สอนควรพยายามให้ ผู้เรียนอธิบายแนวคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงพยายามให้ข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน สำ�หรับกิจกรรมตอนที่ 2 การเกิดจันทรุปราคามีรูปแบบ การจัดกิจกรรมที่แตกต่างไปจากตอนที่ 1 ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบเชิงรุก มากขึ้น โดยผู้เรียนมีโอกาสได้ออกแบบแบบจำ�ลองด้วยตนเอง ได้ร่วมกันคิด อภิปราย ได้ฝึกทักษะ ได้ตัดสินใจมากขึ้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมตอนที่ 1 แต่ยังคงเน้นให้ผู้เรียนได้อธิบายแนวคิดหรือการเกิดปรากฏการณ์ จันทรุปราคาด้วยภาษาของตนเอง ซึ่งจากการทดลองใช้ พบว่าแม้ว่า ความสามารถของผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่อาจ ไม่สามารถออกแบบแบบจำ�ลองหรือออกแบบการทดลองได้ด้วยตนเอง แต่ผู้สอนสามารถช่วยเหลือผู้เรียนได้โดยออกแบบกิจกรรมให้มีการไต่ระดับ ความยากง่าย เช่น ให้ผู้เรียนได้ลองสร้างแบบจำ�ลองตามวิธีการที่กำ�หนดให้ ในตอนที่ 1 ก่อน แล้วค่อยท้าทายผู้เรียนเพิ่มเติมในตอนที่ 2 ทั้งนี้ ผู้สอน ควรประเมินผู้เรียนตลอดและให้การช่วยเหลือผู้เรียนอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ กิจกรรมตอนที่ 2 ยังมีเกณฑ์การประเมินที่เป็น เครื่องมือซึ่งเปรียบเสมือนเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของการทำ�งานร่วมกัน ของทุกคน โดยในมุมของผู้เรียนจะทราบว่า ในกระบวนการแต่ละขั้นตอน ตนเองสามารถทำ�ได้สมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน แล้วจะต้องทำ�อย่างไรจึงจะ สามารถพัฒนาความสามารถของตนเองให้ดีขึ้นได้ เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ แนวคิดการออกแบบแบบจำ�ลองที่หลากหลายแล้วตัดสินใจเลือก ต้องให้ เหตุผลในการเลือกวัสดุ คือ รู้ว่าทำ�งานลักษณะใด รู้ว่าจะต้องพัฒนาตนเอง อย่างไรเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งผู้เรียนจะใช้เกณฑ์การประเมินนี้เพื่อ ประเมินตนเอง ส่วนในมุมของผู้สอนก็สามารถใช้เกณฑ์การประเมินเป็น เครื่องมือหลักในการจัดการเรียนรู้ได้เช่นกัน โดยผู้สอนสามารถให้ข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนว่าอะไรเป็นจุดแข็งหรือจุดที่ผู้เรียนควร พัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้รู้จักตัวเองและรู้ว่าต้องพัฒนาต่ออย่างไร เช่น ประเด็นการให้เหตุผลในการเลือกวัสดุ การวางแผนการทำ�งาน แนวคิด ในการออกแบบแบบร่าง ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่อยู่ในเกณฑ์ การประเมินทั้งหมด ทำ�ให้ผู้สอนง่ายต่อการติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน และ ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ ตรงจุด ไม่ได้เน้นการให้คะแนนหรือการตัดสินคุณภาพงาน แต่เกณฑ์ การประเมินที่ผู้สอนออกแบบขึ้นจะเป็นแนวทางในการให้ข้อมูลย้อนกลับ กับผู้เรียนในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที่ เพื่อช่วยให้การ เรียนรู้ของผู้เรียนก้าวไปข้างหน้า หรือไปยังขั้นตอนการเรียนรู้ขั้นต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5