นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 13 ขั้นสรุป ในขั้นสรุป ผู้สอนสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสรุป องค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนควรใช้แบบจำ�ลองในการอธิบายการเกิด ปรากฏการณ์ ซึ่งผู้สอนสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้อธิบายแนวคิด เกี่ยวกับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคา โดยผู้สอนเพียงแค่ ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน โดยผู้สอนอาจให้ข้อมูลย้อนกลับทันที หากพบว่าผู้เรียนยังคงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียน ได้แก้ไขความเข้าใจคลาดเคลื่อนนั้นๆ ไปแล้ว นอกจากนี้ ในขั้นนี้ผู้สอน สามารถกระตุ้นการคิดของผู้เรียนได้ด้วยคำ�ถามหรือตัวอย่างสถานการณ์ที่ ต้องประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อปลูกฝังการคิดอย่างมีวิจารณญาณหรือการประยุกต์ ใช้ความรู้ให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย ตัวอย่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning นอกจากรูปแบบการจัดกิจกรรมตัวอย่างข้างต้นแล้ว ยังมีรูปแบบ กิจกรรมหรือเทคนิคอีกหลายอย่างที่ผู้สอนสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ทั้งกิจกรรมเชิงสำ�รวจ เสาะหาค้นคว้า กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมเชิงแสดงออก เช่น การอภิปรายในชั้นเรียน (Class Discussion) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) กิจกรรมคิด-จับคู่-แลกเปลี่ยน (think-pair-share) การเรียนรู้โดยใช้ การเรียนเป็นคู่ (Learning Cell) การฝึกเขียนข้อความสั้นๆ (One-minute Paper) การโต้วาที (Debate) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ (Situational Learning) เกมในชั้นเรียน (Game) การเดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Gallery Walk) การเขียนผังมโนทัศน์ (Concept Map) การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student Generated Exam Questions) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning Group) การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-Led Review Sessions) การเขียนจดหมายข่าว (Write and Produce a Newsletter) การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze Case Studies) รวมไปถึงการเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-Research Proposals or Project) (หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน, 2562)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5