นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
14 นิตยสาร สสวท. ข้อเสนอแนะ • ผู้สอนอาจตัดการบรรยายเนื้อหาบางส่วนที่ไม่สำ�คัญ แต่ให้ความสำ�คัญกับการอภิปรายร่วมกับผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น • พยายามสร้างความมีส่วนร่วม หรือให้ผู้เรียนมีบทบาท ภายในกลุ่ม • พยายามเข้าไปพูดคุย ถามคำ�ถามกับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม อย่างทั่วถึง เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความเข้าใจของตัวเองอย่างแท้จริง • เมื่อจบชั่วโมงเรียน ผู้สอนต้องมั่นใจว่า ได้อธิบายหรือ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ทั้งผู้เรียนที่ตอบถูกรวมถึงผู้เรียนที่อาจจะตอบผิด จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกไม่ใช่แค่การจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแค่ทางกายภาพหรือการหยิบจับอุปกรณ์เท่านั้น แต่ สิ่งสำ�คัญคือ ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการคิด ผ่านการอภิปรายร่วมกับ เพื่อนหรือผู้สอน ซึ่งการจัดการเรียนรู้เช่นนี้ผู้สอนเองก็ยังคงมีบทบาท สำ�คัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของผู้เรียนตลอดทั้งชั่วโมงเรียน และรูปแบบ การจัดการเรียนรู้อาจไม่จำ�เป็นต้องเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ ผู้สอนต้องตระหนักถึงการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน และเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปลูกฝัง กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ให้ผู้เรียนรู้จักความผิดพลาด การปรับปรุงแก้ไข กระบวนการแก้ปัญหา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนไม่ได้เลย หากผู้สอน ไม่ได้ลองนำ�แนวการจัดการเรียนรู้เชิงรุกนี้ไปปฏิบัติในห้องเรียน ทั้งนี้ สสวท. มีแหล่งรวมสื่อประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในทุกระดับชั้นที่จะเป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน ตัวอย่าง กรอบคำ�ถามเพื่อกระตุ้นการคิดของผู้เรียนและการเชื่อมโยงในชีวิต ประจำ�วันในคู่มือครู รวมถึงแหล่งสืบค้นข้อมูลให้แก่ผู้สอนและผู้เรียน อีกมากมาย ในเว็บไซต์ https://www.scimath.org/ หรือสามารถดูตัวอย่าง การใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนได้ที่ https://proj14.ipst.ac.th/ Center for Teaching Innovation (2022). Active Learning. Retrieved 15 September, 2022, from https://teaching.cornell.edu/teaching-resources/active-collaborative-learning/active-learning. Cambridge International Education Teaching and Learning Team (2022). Getting started with Active Learning. Retrieved 15 September, 2022, from https://www.cambridge-community.org.uk/professional-development/gswal/index.html. Phala, J., & Chamrat, S. (2019). Learner Characteristics as Consequences of Active Learning. Retrieved 15 September, 2022, from https://doi.org/10.1088/1742-6596/1340/1/012083. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.6 เล่ม 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf. บรรณานุกรม ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กิจกรรมการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5