นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 15 จ ากประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนไม่สามารถ อธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดลูกตุ้มจึงแกว่งกลับไปกลับมาได้ แสดงว่า นักเรียนยังมองไม่เห็นภาพของแรงที่กระทำ�ต่อวัตถุ นอกจากนี้ ครูบางส่วนยังคงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกว่าการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ โดยการ คำ�นวณและการใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ครู มักจะให้นักเรียนหาคาบการแกว่งของลูกตุ้ม จากสมการ หรือหาความถี่ในการแกว่งของลูกตุ้ม จากสมการ แม้ว่า นักเรียนจะสามารถคำ�นวณค่าที่ได้ออกมาเป็นตัวเลข แต่นักเรียนก็ยัง ไม่เข้าใจว่าตัวเลขที่ได้จากการหาค่านั้นมีความหมายอย่างไรกับปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นอาจเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ ของครูที่ไม่ได้ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ กฤษฎา ทองประไพ กฤษณา เกียรติศิริถาวร วันวิสาข์ กาวี ครู โรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ e-mail: krissada.t@piriyalai.ac.th สหรัฐ ยกย่อง ครู โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร ณภัทร สุขนฤเศษฐกุล นักวิชาการอิสระ ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา “วิชาฟิสิกส์” เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพ ที่มุ่งเน้นการอธิบาย ทำ�นายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและจักรวาล อย่างไรก็ตาม นักเรียนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจว่า เนื้อหาวิชาฟิสิกส์มีความยากต่อการทำ�ความเข้าใจ และมีความซับซ้อนยากต่อการมองเห็น เป็นรูปธรรม เช่น เรื่อง “การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย” แนวทางการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง จากปรากฏการณ์ในชีวิตจริง จึงทำ�ให้นักเรียนไม่สามารถเข้าใจแนวคิดทาง ฟิสิกส์ได้อย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้ว่าการแก้โจทย์ปัญหาไม่ใช่เป้าหมาย หลักของวิชาฟิสิกส์ แท้จริงแล้วการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์มีเป้าหมายเพื่อให้ นักเรียนสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้อย่างน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับอย่างฉันทามติ โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ที่ถูกต้องและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Ain et al., 2018) การอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นการบรรยายที่ทำ�ให้ เข้าใจเรื่องราว ความจริง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยใช้ ความรู้วิทยาศาสตร์ที่สมเหตุสมผลกับสถานการณ์หนึ่งๆ โดยการบรรยาย การตีความปรากฏการณ์ หรือการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำ�คัญ ได้แก่ 1) ข้อกล่าวอ้าง (Claim) ซึ่งเป็นคำ�ตอบของปัญหา 2) หลักฐาน (Evidence)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5