นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
18 นิตยสาร สสวท. ในขั้นตอนนี้จะสังเกตได้ว่าบทบาทของครูในกระบวนการจัดการ เรียนรู้เป็นผู้คอยชี้แนะ ช่วยเหลือ และสนับสนุนให้นักเรียนโต้แย้งกันใน กลุ่มตนเอง และร่วมกันสร้างคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเขียน ประกอบด้วย ข้อกล่าวอ้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ และเหตุผล ขั้นตอนนี้ นักเรียนร่วมกันสร้างเหตุผลที่เชื่อมโยงหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อยืนยันข้อ กล่าวอ้างของกลุ่มตนเองให้สมบูรณ์ ขั้นที่ 4 การโต้แย้งร่วมกันในชั้นเรียน (Argumentation Session) หลังจากที่แต่ละกลุ่มสร้างคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ในขั้นที่ 3 เรียบร้อยแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอผลงานที่ได้จากการทดลอง สำ�รวจตรวจสอบ และสร้างคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันเป็นกลุ่ม นำ�เสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มละ 5 นาที และให้นักเรียนกลุ่มอื่นๆ ร่วมกันอภิปรายโต้แย้งเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยพร้อมให้เหตุผลประกอบ ดังตัวอย่างคำ�ถามและคำ�ตอบ จากบทสนทนาของนักเรียนผ่านกิจกรรมการโต้แย้งในชั้นเรียน ดังนี้ ครู : เชิญชวนนักเรียนนำ�เสนอการสร้างคำ�อธิบายของ แต่ละกลุ่มผ่านประเด็นการโต้แย้ง “ปัจจัยที่มีผลต่อการแกว่งของลูกตุ้ม นักเรียน : ข้อสรุปที่บอกว่า ลูกตุ้มแกว่งไปกลับได้ เพราะขนาด ของแรง mgsinθ ทราบได้อย่างไรครับ” นักเรียน (กลุ่มนำ�เสนอ) : เราวิเคราะห์องค์ประกอบของแรง แล้วพบว่าแรงที่ทำ�ให้ลูกตุ้มแกว่งกลับไปมา ตามรูปนี้ครับ นี่คือหลักฐาน ดังภาพ 6 นักเรียน (กลุ่มนำ�เสนอ) : จากการทดลอง เพิ่มความยาวเชือก เราจะพบว่าถ้าเชือกยาวเพิ่มขึ้น เวลาในการแกว่งครบ 10 รอบจะนานขึ้นค่ะ ซึ่งสังเกตจากกราฟค่ะ ดังภาพ 3 นักเรียน (กลุ่มนำ�เสนอ) : กลุ่มเราได้ข้อสรุปว่า เชือกมีผลต่อ การแกว่งของลุกตุ้ม และหลักฐานของกลุ่มเราคือการตีความจากกราฟ ภาพ 3 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างคาบการแกว่งของลูกตุ้มกับ ความยาวเชือกของกลุ่ม 1 ภาพ 4 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างคาบการแกว่งของลูกตุ้มกับ มวลของลูกตุ้มของกลุ่ม 2 ภาพ 5 การโต้แย้งร่วมกันในชั้นเรียน (Argumentation Session) การทดลองครับ ดังภาพ 3 อธิบายได้ว่าถ้าเชือกยาวมากจะใช้เวลาในการแกว่ง นานขึ้น ตามสมการ ค่ะ” กิจกรรมข้างต้น บทบาทของครูเป็นผู้สรุปประเด็นการโต้แย้งใน ชั้นเรียน โดยใช้คำ�ถามเพื่อสรุปการโต้แย้ง เช่น “ประเด็นการนำ�เสนอที่ทุก กลุ่มเห็นตรงกันคืออะไร” หรือ “ประเด็นที่ทุกกลุ่มมีความเห็นขัดแย้งกัน คืออะไร” ส่วนนักเรียนจะดำ�เนินการนำ�เสนอ โต้แย้งร่วมกันและเปิดโอกาส ให้นักเรียนนำ�เสนอหลักฐานอื่นๆ ที่ได้จาการสืบค้นเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบกับ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จาการทดลองของตนเอง ดังภาพ 5 ในขณะเดียวกัน ก็ได้รับการตรวจสอบทบทวนการใช้หลักฐานที่ถูกต้องน่าเชื่อถือจากเพื่อนๆ ในชั้นเรียนด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5